วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 9

       ให้นักศึกษา ดูทีวีในแหล่งความรู้โทรทัศน์สำหรับเลือกดูคนละหนึ่งเรื่อง การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน  ให้สรุปเป็นประเด็นสำคัญ ที่นักศึกษาเห็นว่าสำหรับการจัดการเรียนการสอน และหากนักศึกษาไปฝึกสอนในสถานศึกษาที่ได้ดูจากทีวี  นักศึกษาจะเตรียมตัวออกสังเกตการสอนว่า  อาชีพครูจะต้องมีคุณสมบัติที่ดีอย่างไร และจะทำให้เกิดกับตัวนักศึกษาได้อย่างไร  เขียนอธิบายขยายความลงในบล็อกของนักศึกษาในกิจกรรมที่  ๙ (โทรทัศน์สำหรับครูอยู่ในแหล่งเรียนรู้สำหรับนักศึกษาครู เลือกพยายามอย่าให้ซ้ำกัน หรือซ้ำกันแต่ให้มุมมองที่แตกต่างกัน)  ครูจะต้องมีคุณสมบัติ

ครูจะต้องมีคุณสมบัติ 
                    
          ๑.ความมีระเบียบวินัย หมายถึง ความประพฤติ ทั้งทางกายและวาจาและใจที่

แสดงถึงความเคารพในกฎหมาย ระเบียบประเพณีของสังคม และความประพฤติที่สอดคล้องกับอุดมคติหรือความหวังของตนเอง โดยให้ยึดส่วนรวมสำคัญกว่าส่วนตัว
           ๒. ความซื่อสัตย์สุจริตและความยุติธรรม หมายถึง การประพฤติที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ไม่เอาเปรียบ หรือคดโกงผู้อื่นหรือส่วนรวม ให้ยึดถือหลักเหตุผล ระเบียบแบบแผนและกฎหมายของสังคมเป็นเกณฑ์
           ๓.  ความขยัน ประหยัด และยึดมั่นในสัมมาอาชีพ หมายถึง ความประพฤติที่ไม่ทำให้เสียเวลาชีวิตและปฏิบัติกิจอันควรกระทำให้เกิด ประโยชน์แก่ตนและสังคม
         ๔.ความสำนึกในหน้าที่และการงานต่าง ๆ รวมไปถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ หมายถึง ความประพฤติที่ไม่เอารัดเอาเปรียบสังคมและไม่ก่อความเสียหายให้เกิดขึ้นแก่ สังคม
          ๕. ความเป็นผู้มีความคิด ริเริ่ม วิจารณ์และตัดสินอย่างมีเหตุผล หมายถึง ความประพฤติในลักษณะสร้างสรรค์และปรับปรุงมีเหตุมีผลในการทำหน้าที่การงาน
           ๖. ความกระตือรือร้นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีความรักและเทิดทูน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หมายถึง ความประพฤติที่สนับสนุนและให้ความร่วมมือ ในการอยู่ร่วมกันโดยยึดผลประโยชน์ของสังคมให้มากที่สุด
           ๗. ความเป็นผู้มีพลานามัยที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ หมายถึง ความมั่นคงและจิตใจ รู้จักบำรุงรักษากายและจิตใจให้สมบูรณ์ มีอารมณ์แจ่มใสมีธรรมะอยู่ในจิตใจอย่างมั่นคง
           ๘. ความสามารถในการพึ่งพาตนเองและมีอุดมคติเป็นที่พึ่ง ไม่ไว้วานหรือขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นโดยไม่จำเป็น
          ๙. ความภาคภูมิและการรู้จักทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม และทรัพยากรของชาติ หมายถึง ความประพฤติที่แสดงออกซึ่งศิลปะและวัฒนธรรมแบบไทย ๆ มีความรักและหวงแหนวัฒนธรรมของตนเองและทรัพยากรของชาติ
         ๑๐. ความเสียสละ และเมตตาอารี กตัญญูกตเวที กล้าหาญ และความสามัคคีกัน หมายถึง ความประพฤติที่แสดงออกถึงความแบ่งปันเกื้อกูลผู้อื่นในเรื่องของเวลากำลัง กายและกำลังทรัพย์ การเป็นครูที่ "ดี" นั้น ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติต่าง
          ๑.   ปรับปรุงการเรียนการสอนให้ทันสมัยและเหมาะสมอยู่เสมอ
          ๒มีความปรารถนาที่จะช่วยเหลือผู้เรียนให้ประสบความสำเร็จในทุกด้าน
          ๓.   มีบุคลิกภาพที่ดี
          ๔.  มีความรู้ความชำนาญในงานที่สอน
          ๕.  มีความอดทน
          ๖.   มีลักษณะซึ่งผู้เรียนให้ความไว้วางใจ
          ๗.  มีความกระตือรือร้นในการถ่ายทอดความรู้ 
          ๘.  มีความจริงใจ
           ๙.  มีลักษณะเป็นผู้นำ

               คุณสมบัติแรกที่ผู้เรียนทุกระดับขั้นมักจะให้ความสำคัญคือ "ความ สามารถในการสอน" หรือเทคนิคในการสอนนั้นเอง ทั้งนี้ผู้ปฏิบัติจะต้องทุ่มเทหัวใจให้กับงานทั้งหมด และตระหนักว่าผลของความสำเร็จจะไม่เป็นตามกฎเกณฑ์หรือทฤษฎีที่ตั้งไว้ ลักษณะการสอนในแนวความคิดนี้จะไม่ยึดกฎเกณฑ์เป็นหลักตายตัว แต่จะต้องอาศัยความยึดหยุ่น คือ สามารถทำสิ่งที่ถูกต้องในเวลาที่เหมาะสม เช่น สามารถใช้วิธีสอนได้เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละคนที่มีความแตกต่างกัน การสอนจะประสบความสำเร็จต้องอาศัยหลักทฤษฎีซึ่งมีผลจากการทดลองวิจัยมาเป็น ตัวสนับสนุนการสอนที่ดีมิใช่ศิลปะหรือเป็น "พรสวรรค์" ที่เกิดขึ้นเฉพาะตัวบุคคลบางคนแต่การสอนที่ดีเป็นผลมาจากการฝึกอย่างเชี่ยวชาญซึ่งสามารถเกิดขึ้นกับทุกคนได้
             ทั้งนี้เพราะข้อมูลทางด้านศิลปะจะทำให้เกิด "ใจ รัก" ส่วนข้อมูลทางวิทยาศาสตร์จะทำให้เกิด "ความเชี่ยวชาญ"คือมีความรู้ และมีใจรักในการถ่ายทอดความรู้ก็จะเป็นครูผู้นั้นมีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่ สอน และมีความรู้ในหลัก"จิตวิทยาการศึกษา" โดยอาศัยเนื้อหาต่าง ๆ ที่อธิบายไว้ในบทต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง
ในสังคมไทยการพัฒนาเพื่อเป็นครูที่ดีนั้นสามารถใช้หลักปฏิบัติทาง พุทธศาสนาได้อย่างดียิ่ง ตัวอย่างเช่น หลักอิทธิบาทซึ่งประกอบด้วย
           ๑.ฉันทะคือความพอใจในสิ่งนั้นในที่นี้หมายถึงความพึงพอใจในอาชีพครูซึ่งเมื่อมีความพอใจเป็นอันดับแรกแล้วจะทำให้ง่ายต่อการพัฒนา
                    ๒.วิริยะคือความเพียรพยายามเมื่อครูพึงพอใจสนใจเอาใจใส่ต่ออาชีพของตนเองแล้ว
          ๓.จิตตะคือความตั้งใจจริงเอาใจใส่ฝึกฝนเพื่อเป้า หมายในการเป็นครูที่ดีดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าการเป็นครูที่ดีนั้นสามารถ ฝึกฝนได้ถ้ามีความตั้งใจจริงแหล่งข้อมูลต่างๆที่จะใช้เพื่อเป็นแนวทางมีมาก มาย
                  ๔.วิมังสา คือความหมั่นติตรองพิจารณาเหตุผลในสิ่งนั้นในขั้นนี้ถือเป็นขั้นสำคัญเพราะ ข้อมูลต่างๆ ที่ได้มามากมายจะไม่มีประโยชน์อะไรถ้าปราศจากการคิดพิจารณาไตร่ตรองเพื่อนำ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ พร้อมทั้งสามารถนำข้อมูลต่างๆเหล่านั้นมาดัดแปลงใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล และสถาบันการศึกษาที่มสภาพแวดล้อมแตกต่างกันมากมาย
          ๑.พัฒนาการรู้จักตนเองและโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าครูมีความเข้าใจและยอมรับตนเองแล้วก็จะเกิดความเข้าใจและยอมรับผู้อื่นได้ง่ายยิ่งขึ้น
                ๒. ค้นหาทางเลือกใหม่ๆ ในการสอน ถ้าพบว่า วิธีการต่าง ๆ ที่ เป็นที่นิยมใช้กันนั้นไม่เหมาะสมกับตนเอง ครูควรจะค้นหาวิธีใหม่ๆนำมาใช้ให้เหมาะกับตนเอง
                ๓.หมั่นตรวจสอบสิ่งที่ตนเองไม่พึงพอใจ
                ๔.ประเมินภาระงานใหม่ทั้งหมดโดยพยายามขจัดหรือลดภาระงานที่มากเกินไปที่ทำให้เกิดความเครียด
               ๕.ขอคำแนะนำจากผู้อื่นเช่น เพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน หรือผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์และมุมมองในการแก้ปัญหาที่แตกต่างกันออกไป
                ๖. แสวงหาประสบการณ์ใหม่ที่นอกเหนือจากการสอน เช่น หางานอดิเรกทำ ทำงานพิเศษช่วงฤดูร้อน เข้ารับการสัมมนาในหัวข้อที่สนใจเป็นต้น
                ๗. แสวงหาความพึงพอใจจากที่อื่น ๆ เมื่อรู้สึกว่าบรรยากาศในห้องเรียนไม่เอื้อต่อความสุขของตนเอง เช่น การรับเชิญไปเป็นวิทยากรพิเศษหรือการรับเชิญไปสอนพิเศษตามสถาบันต่างๆเป็น ต้น
               ๘. พูดคุยกับผู้อื่นเกี่ยวกับปัญหาต่างๆของตนเองซึ่งจะเป็นการระบายความเครียดได้
               ๙.  ออกกำลังกายเมื่อเกิดความเครียดทั้งนี้จะได้ประโยชน์โดยการผ่อนคลาย
              ๑๐. โปรดอย่านำความเครียดมาระบายในชั้นเรียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งอย่านำความเครียดมาระบายกับผู้เรียน
            ๑๑. ถ้าท่านมีความเครียดมากจนไม่สามารถแก้ไข ได้ด้วยตนเองโปรดขอคำแนะนำจากจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะทำให้เกิด กับตัวนักศึกษาได้อย่างไร
             ๑.ปฏิบัติตาม   













 





































































































































































































           



































          

วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 8

  วัฒนธรรมองค์การ      หมายถึงธรรมเนียมปฏิบัติของหน่วยงาน บางคนหมายถึงแบบแผนการประพฤติปฏิบัติหน้าที่หน่ายงานคาดหวังให้สมาชิกทำตาม

แนวคิดเกี่ยวกับองค์การ
       วัฒนธรรมองค์การทั้งหลายนั้นมีที่มาจากความคิดพื้นฐาน 2 แนวทางหลัก คือ แนวทางที่เห็นว่าวัฒนธรรมเป็นตัวแปรตัวหนึ่งในองค์การ (culture as a variable) และแนวทางที่เห็นว่าองค์การเปรียบเสมือนวัฒนธรรมๆ หนึ่ง (culture as a root metaphor) แนวทางแรก ที่เห็นวัฒนธรรมองค์การเป็น พฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้ และเป็นตัวแปรตัวหนึ่งในบรรดาตัวแปรหลายตัวที่องค์การมีอยู่ (ตัวแปรอื่นๆ เช่น โครงสร้างองค์การเทคโนโลยี ฯลฯ) แนวทางแรกจึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “culture is something an organization has” ส่วนแนวทางหลัง เชื่อว่าวัฒนธรรมองค์การเป็นความคิด ความเชื่อ ที่อยู่ภายในจิตใจ ของคนกลุ่มหนึ่งและไม่ใช่เป็นเพียงตัวแปรตัวหนึ่งในองค์การ แต่ตัวองค์การเองทั้งหมดคือวัฒนธรรมๆ
แนวทางพัฒนาองค์การ
       การพัฒนาองค์การมิได้หมายถึงการพัฒนาแต่เฉพาะองค์การที่มีปัญหาเท่านั้น หากแต่องค์การที่มีความเจริญรุ่งเรืองอยู่แล้วก็ควรได้รับพัฒนาให้เจริญยิ่งขึ้น เพราะเมื่อใดที่คิดว่าองค์การของตนมีความเจริญและมีการพัฒนาที่ดีแล้วจึงหยุดนิ่ง ก็เท่ากับว่ากำลังเดินถอยหลังตลอดเวลา  ผู้บริหารจึงควรมีการพัฒนาองค์การอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยอาศัยหลักการดังนี้
  1.กำหนดเป้าหมาย (Goal Sating) ควรมีการประชุม อภิปราย เพื่อกำหนดนโยบายร่วมกันทั้งฝ่ายผู้บริหารและสมาชิกในองค์การอย่างชัดเจน และตรงไปตรงมา
2.ความเข้าใจในสถานการณ์ (Understand Relations) ต้องอาศัยความเข้าใจร่วมกัน  เพราะความต้องการของบุคคลจะเป็นตัวอิทธิพลอย่างยิ่งต่อพฤติกรรมการทำงาน
3.การปรับปรุงสัมพันธ์ภาพ (Improving Relations) การมีสัมพันธ์ภาพที่ดีต่อกันในองค์การถือเป็นผลพลอยได้ขององค์การ แต่ไม่ว่าคนในองค์การจะมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกันหรือไม่ก็ตาม ควรได้รับการเปิดเผย เพื่อให้ต่างฝ่ายได้รู้ถึงปัญหา เมื่อรู้ถึงปัญหาทุกคนจะพยายามปรับตัวเข้าหากันและตั้งใจทำงานมากขึ้น
4.ให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วม  ในการดำเนินการ การแก้ปัญหา การตัดสินใจ การให้ความสนับสนุนและความร่วมมือ ทั้งนี้ควรคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลง การแก้ปัญหา ระบบการทำงานของมนุษย์ขึ้นอยู่กับดุลภาพของงาน (Balance of force) ภายในระบบของหน่วยงานนั้นๆ
5.การเชื่อมโยง (Linking) แนวยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การ คือ ความสามารถในการโน้มน้าวคนในหน่วยงานให้มีความเข้าใจที่ดีต่อกันมากที่สุด
กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ
      กำหนดกลยุทธ์ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กร คำว่ากลยุทธ์หมายถึงแนวทางหรือสะพานเชื่อมช่องว่างระหว่างสิ่งที่เราเป็นอยู่ไปสู่สิ่งที่เราต้องการจะเป็นการกำหนดกลยุทธ์ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรนิยมทำกันใน 2 ลักษณะคือ
               1. การเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป จากวัฒนธรรมที่เปลี่ยนได้ง่ายไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยุ่งยาก หรืออาจจะเป็นการสร้างกระแสวัฒนธรรมใหม่กลบกระแสวัฒนธรรมเก่า การเปลี่ยนแปลงจะแทรกซึมอยู่ในทุกกิจกรรม เป็นการสร้างวัฒนธรรมแบบกองโจรเพราะเป็นการเก็บเล็กผสมน้อยไปเรื่อยๆ    การเปลี่ยนแปลงแบบนี้จะส่งผลกระทบต่อคนในองค์กรน้อย แต่ต้องใช้ระยะเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่มีอายุยาวนานและมีวัฒนธรรมดั้งเดิมแข็งแกร่ง
               2. การเปลี่ยนแบบผ่าตัด เป็นการเปลี่ยนแปลงทันทีทันใด อาจจะมีการเจ็บปวดบ้างในช่วงแรก แต่ได้ผลดีในระยะยาว เพราะทุกอย่างชัดเจน ทุกคนทราบว่าตัวเองจะอยู่ได้หรือไม่ได้ในวัฒนธรรมองค์กรแบบใหม่ หลายองค์กรนิยมยืมมือบุคคลที่สามเข้ามาทำการผ่าตัด บางองค์กรมักจะผ่าตัดเพื่อกำหนดวัฒนธรรมองค์กรไปพร้อมๆกับการผ่าตัดโครงสร้างองค์กร เปรียบเสมือนกับการที่คุณหมอเปลี่ยนทัศนคติของคนไข้เมื่อคนไข้อยู่ในภาวะเจ็บป่วย เพราะในช่วงเวลานั้นคนไข้มักจะเชื่อฟังคุณหมอมากกว่าตอนที่ร่างกายเป็นปกติ 
แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้
เนื่องจากปัญหาส่วนใหญ่ที่พบใน องค์การคือ การนำแผน และกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ เพราะแผนและกลยุทธ์ที่ถูกกำหนดอย่างดีจะไม่มีความหมายเลยถ้านำไปปฏิบัติไม่ ได้ จากเหตุผลดังกล่าวทำให้นักบริหารพยายามค้นหาตัวแปรที่จะทำให้การนำไปสู่การ ปฏิบัติมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยหลายองค์การได้นำเอาวัฒนธรรมองค์การมาประยุกต์ใช้ ซึ่งพบว่าในการดำเนินงานสามารถสร้างให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานได้ใน ลักษณะที่เป็นธรรมชาติมาก
กล่าวคือไม่ต้องมีการสั่งการ และ การออกกฎระเบียบ เพื่อใช้บังคับพฤติกรรมบุคคลในองค์การ ซึ่งเดิมเคยอาจใช้ได้ผลซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะของการถูกบังคับ ซึ่งเป็นผลทำให้ประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นมีผลแค่เพียงในระยะเวลาสั้น เมื่อเทียบกับการควบคุมโดยประยุกต์ใช้วัฒนธรรมองค์การที่เกิดขึ้นในลักษณะ ตามธรรมชาติ
ตัวอย่างการประยุกต์ใช้วัฒนธรรม องค์การในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในกรณีศึกษาของประเทศไทย เช่น สาขาของธนาคารแห่งหนึ่งในประเทศไทยผู้จัดการพยายามพัฒนาพนักงานให้มีความ สนใจลูกค้ามากขึ้น เพราะพบว่าพนักงานมักจะให้บริการแก่ลูกค้า "แบบขอไปที" หรือ "เสียไม่ได้" กล่าวคือ ไม่เคยมีรอยยิ้ม การทำงานก็จะทำไปตามหน้าที่ การให้บริการล่าช้า เป็นการทำงานตามใจตัวเอง ส่งผลให้ลูกค้าตำหนิการให้บริการอย่างมาก ผู้จัดการสาขาท่านนั้นได้มีโอกาสเข้ารับการอบรม ใน หัวข้อ วัฒนธรรมองค์การ และได้ฟังการบรรยายตัวอย่างของ UPS จากตัวอย่างสามารถสรุปได้ว่า วัฒนธรรมองค์การใดจะประสบความสำเร็จสูงสุดได้ ผู้บริหารระดับสูงจะต้องกระทำตัวเป็นตัวอย่างก่อน ในขณะเดียวกันต้องมีความตั้งใจจริง และมีความผูกพันอย่างจริงจังในการสร้างให้เกิดบรรยากาศของการควบคุมโดยใช้ วัฒนธรรมองค์การ ที่สำคัญควรมีการปรับวัฒนธรรมองค์การตลอดเวลา เพราะการปลูกฝังค่านิยมให้ฝังแน่นอย่างถาวรอาจทำให้วัฒนธรรมนั้นขาดการพัฒนา ปรับปรุงให้เหมาะสมลงตัวกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ตัวอย่างเช่น วัฒนธรรมองค์การของบริษัท Polaroid ที่ยึดติดอยู่กับกรอบความคิดที่ว่าภาพถ่ายที่ดีต้องใช้ฟิล์มเท่านั้น Polaroid เป็นบริษัทแรกที่เป็นเจ้าของแนวคิดถ่ายรูปแล้วสามารถเห็นภาพทันที ซึ่งก็คือ Digital Picture ในปัจจุบัน แต่ด้วยค่านิยมที่ฝังแน่นเกินไปทำให้ Polaroid ที่ควรจะเป็น ผู้นำในเรื่อง Digital Picture กลับกลายเป็นบริษัทที่เกือบล้มละลาย ปล่อยให้บริษัท Sony และ บริษัท Canon กลายเป็นผู้นำแทนในเรื่องการถ่ายภาพที่สามารถเห็นภาพทันที
 สรุป     วัฒนธรรมในองค์กรนั้นไม่ได้มีแต่ด้านดีอย่างเดียว เราคงต้องยอมรับว่ายังมีวัฒนธรรมองค์กรในด้านไม่ดีที่ฝังรากปะปนอยู่ด้วย ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของผู้นำในทุกระดับขององค์กรที่จะต้องค้นหา ส่งเสริม รณรงค์ และกระตุ้นให้พนักงานทุกคนในองค์กรมีจิตสำนึกในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีให้เกิดขึ้นในองค์กรนั้น ๆ

วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 7



        นำแนวคิดมาใช้ในการ ให้นักศึกษาเปิดไฟล์ข้อมูลและสรุปการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพเป็นอย่างไร และนักศึกษาจะมีวิธีการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพได้อย่างไร  อ่านจากบทความนี้และรจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ


การจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ



แสดงปัญหาอย่างหนึ่งที่พบได้บ่อยในหลายโรงเรียน คือ การควบคุมดูแลนักเรียนให้อยู่ใน
ระเบียบวินัยและตั้งใจเรียน แม้กระทั่งครูที่มีประสบการณ์ด้านการสอนที่มีความเชื่อมั่นในวิธีการควบคุมชั้นเรียน โดยนักเรียนต้องเชื่อฟังและอยู่ในระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด ซึ่งเป็นแนวทางที่ไม่สอดคล้องกับแนวการเรียนการสอนในปัจจุบันที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ ให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้นั้นๆ ได้คิดลงมือทำกิจกรรมอย่างกระตือรือร้น ตื่นตัว ตื่นใจ หรือมีใจจดจ่อผูกพันกับสิ่งที่ทำ มิใช่เพียง ทำไปให้เสร็จภารกิจเท่านั้น ดังนั้นการที่ครูจะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ ผู้เรียนมีส่วนร่วมนั้น กิจกรรมนั้นจะต้องมีลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่าง “active” คือช่วยให้ผู้เรียนรู้สึกมีความกระตือรือร้นตื่นตัว มีความจดจ่อ ผูกพันกับสิ่งที่ทำ เพื่อก่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และครูที่สามารถดำเนินการดังกล่าวให้ประสบความสำเร็จนั้นจึงได้รับการยอมรับว่าเป็น ครูมืออาชีพ
ดังนั้น ครูมืออาชีพจึงเป็นครูที่มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน มีความสามารถจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบมีประสิทธิภาพ รวมถึงต้องพัฒนาทักษะวิชาชีพของตนเองอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อมุ่งพัฒนาศักยภาพของนักเรียนอย่างแท้จริงดังนั้นการบริหารจัดการชั้นเรียนตลอดจนการสร้างบรรยากาศที่กระตุ้นส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้หรือสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองจึงเป็นสิ่งที่ครูมืออาชีพต้องให้ความสำคัญและสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดการชั้นเรียน คือ การจัดสภาพของห้องเรียน
ทางด้านกายภาพหรือการตกแต่งห้องเรียนด้วยวัสดุตกแต่งเพื่อเป็นการจูงใจนักเรียนให้มีความ
สนใจและตั้งใจเรียน นั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการจัดการชั้นเรียนเท่านั้น หากแต่ต้องมีการ
สร้างสรรค์และเอาใจใส่สภาพบรรยากาศภายในห้องเรียนด้วยเช่นกัน ครูจึงเป็นบุคคลที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยในการรับหน้าที่เป็นผู้สร้างและส่งเสริมกระบวนการเรียนการสอน กระตุ้นความใฝ่รู้และใส่ใจในการศึกษาของผู้เรียน สร้างความมีระเบียบวินัยให้กับผู้เรียน
การจัดการชั้นเรียนมีความสำคัญด้วยเหตุผลหลายประการ คือ
- การเรียนรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้หรือเกิดได้น้อยถ้ามีสิ่งรบกวนในชั้นเรียนอยู่ตลอดเวลาด้วย
ปัญหาทางด้านพฤติกรรมของนักเรียน
- นักเรียนที่อยู่ในชั้นเรียนที่ไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย สิ่งแวดล้อมในชั้นเรียนมีเสียงดังและ
สิ่งรบกวน หรือการจัดที่นั่งไม่เหมาะสมอาจเกิดสาเหตุให้เกิดปัญหาทางวินัยนำไปสู่การ
พฤติกรรมที่ก้าวร้าว หรือทำให้นักเรียนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ส่งผลให้นักเรียนไม่สามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่
            ดังนั้น จะเห็นว่าการจัดการบริหารชั้นเรียนเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความ
กระตือรือร้นในการเรียนและร่วมกิจกรรมต่างๆ โดยมีครูเป็นผู้วางแผนและกระบวนการส่งเสริมทั้งทางด้านกายภาพ จิตวิทยา และสังคม โดยมีสอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์ (Maslow)ที่กล่าวว่ามนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานอย่างเป็นลำดับขั้น เริ่มตั้งแต่ขั้นความต้องการทางด้านร่างกาย ขั้นความต้องการความมั่นคง ขั้นความต้องการการยอมรับและยกย่องจากสังคมและขั้นความต้องการพัฒนาศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ ทำให้ต้องการพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทำให้ครูต้องเป็นผู้ช่างสังเกตว่านักเรียนมีความต้องการพื้นฐานในระดับใด และพยายามช่วยเหลือตอบสนองความต้องการของนักเรียน ให้ความเป็นอิสระและเสรี รวมทั้งจัดบรรยากาศการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียน เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และรู้จักตนเอง

วิธีการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ
การจัดการชั้นเรียนแบบมืออาชีพนั้นคนที่เป็นครูควรยึดหลักดังต่อไปนี้
       1. หลักประชาธิปไตย ครูควรให้ความสำคัญต่อนักเรียนเท่าเทียมกัน ให้ความเสมอภาค ให้อิสระ ให้โอกาสแก่ทุกคนในการแสดงความคิดเห็น ขณะเดียวกันครูต้องใจกว้าง ยินดีรับฟังความเห็นของทุกคน และควรฝึกให้นักเรียนปฏิบัติตนตามสิทธิหน้าที่ รู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น ให้รู้จักการอยู่ร่วมกันอย่างประชาธิปไตย
     2. หลักความยุติธรรม ครูควรปกครองโดยใช้หลักความยุติธรรมแก่นักเรียนทุกคนโดย
ทั่วถึง นักเรียนจะเคารพศรัทธาครู และยินดีปฏิบัติตามกฎระเบียบของครู ยินดีปฏิบัติตามคำอบรมสั่งสอนของครู ตลอดจนไม่สร้างปัญหาในชั้นเรียน
     3. หลักพรหมวิหาร 4 ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ซึ่งมีความหมายดังต่อไปนี้
เมตตา หมายถึง ความรักและเอ็นดุ ความปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นเป็นสุข
กรุณา หมายถึง ความสงสาร คิดจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
มุทิตา หมายถึง ความยินดีด้วยเมื่อผู้อื่นได้ลาภยศ สุข สรรเสริญ
อุเบกขา หมายถึง ความเที่ยงธรรม การวางตัวเป็นกลาง การวางใจเฉย
ถ้าครูทุกคนยึดหลักพรหมวิหาร 4 ในการปกครองชั้นเรียน นอกจากจะทำให้นักเรียนมีความ
เคารพรักศรัทธาครู และมีความสุขในการเรียนแล้วยังเป็นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่
นักเรียนด้วย
      4. หลักความใกล้ชิด การที่ครูแสดงความเอาใจใส่ ความสนใจ ให้ความใกล้ชิดกับ
นักเรียน เป็นวิธีการหนึ่งในการสร้างบรรยากาศทางด้านจิตวิทยา วิธีการแสดงความสนใจนักเรียนทำได้หลายวิธี ซึ่งประกอบด้วย
1. ครูจะต้องรู้จักนักเรียนในชั้นทุกคน รู้จักชื่อจริง ชื่อเล่น ความสนใจของเด็กแต่ละคน
เป็นต้นว่า งานอดิเรก มีพี่น้องกี่คน จุดเด่น จุดด้อย ของนักเรียนแต่ละคน
2. ครูจะต้องแสดงความสนใจในสารทุกข์สุขดิบของเด็กแต่ละคน เช่น หมั่นถามความ
เป็นไปของพี่น้อง ความคืบหน้าของการสะสมแสตมป์ คือ ไม่เพียงรู้แต่ว่าเด็กเป็นอะไรในข้อ 1 แต่รู้ข่าวคราวเคลื่อนไหวของสิ่งเหล่านั้นด้วย
3. ครูจะมอบเวลาของตนเพื่อเด็ก เวลาที่นอกเหนือจากงานสอน ได้แก่ เวลาเย็นหลังเลิก
เรียน ช่วงพักระหว่างการเรียน เพื่อช่วยเด็กที่ต้องการการช่วยเหลือเป็นพิเศษ ว่าต้องการขอ
คำปรึกษา ต้องการขอคำแนะนำในการหารายได้พิเศษ ครูจะต้องพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กได้ตลอดเวลา
4. ครูจะต้องใกล้ชิด สัมผัสทั้งร่างกายและจิตใจ คำสั่งสอนและการกระทำของครูจะต้อง
สอดคล้องกัน เป็นต้นว่า ถ้าครูจะอบรมสั่งสอนเด็กเรื่องความซื่อสัตย์ ครูจะต้องปฏิบัติตนเป็นคนซื่อสัตย์ด้วยเช่นกัน กายสัมผัสก็เป็นสิ่งจำเป็น การจับต้องตัวบ้าง จะเป็นสื่อนำให้เด็กรู้สึกถึงความใกล้ชิดสนิทสนม

นำแนวคิดมาใช้ในการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ
เราสามารถที่จะนำหลักการดังกล่าวมาใช้เพื่อที่จะเป็นแนวทางหรือแนวคิดในการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพของเราได้คือเราสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน ถ้าปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนเป็นไปด้วยดี หมายถึง ทั้งครูและนักเรียนต่างมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ซักถาม ครูให้ความเป็นกันเองแก่นักเรียน ให้นักเรียนมีอิสระ และมีความสบายใจในการทำกิจกรรม บรรยากาศภายในห้องเรียนก็จะไม่ตึงเครียด เป็นบรรยากาศที่รื่นรมย์ น่าเรียน น่าสอน ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี แนวทางในการสร้างความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบและเราก็สามารถที่นำการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วยครับ

กิจกรรมที่ 6

  ให้นักศึกษาอ่านบทความนี้ สรุปและแสดงความคิดเห็น มาตรฐานวิชาชีพ และนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพครูได้อย่างไร



 สรุปมาตรฐานวิชาชีพ และนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพครู



        ทุกวิชาชีพย่อมต้องมีมาตรฐานของวิชาชีพนั้น เพื่อวัด หรือประมาณค่าผู้ปฏิบัติการวิชาชีพ ตามมาตรฐานด้านความรู้ ทักษะ และประสบการณ์วิชาชีพ  การที่องค์กรด้านวิชาชีพต่างๆ ได้กำหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพของตน ถือเป็นภาระหน้าที่เพื่อความมุ่งประสงค์ในการรักษา ส่งเสริม และพัฒนาอาชีพของตนให้มีมาตรฐานสูงที่สุด โดยให้ผู้ปฏิบัติการ ผู้รับบริการ ผู้เกี่ยวข้องและสาธารณชนได้เห็นความสำคัญของการอาชีพนั้นๆ และเพื่อให้การอาชีพนั้นๆ สามารถคงอยู่ได้ด้วยความมีคุณค่า เป็นที่ยอมรับนับถือและได้รับการยกย่อง

       
 สำหรับวิชาชีพทางการศึกษานั้น คำว่า มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการศึกษาเป็นทั้งการสร้าง การพัฒนา รวมทั้งการเสริมให้บุคคลมีคุณภาพ มีศักยภาพ ที่จะเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของชุมชน สังคม และประเทศ
มาตรฐานวิชาชีพ หมายถึง จุดมุ่งหมายหลักทีจะสร้างแนวทางปฏิบัติ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อให้เกิดความมั่นใจมนวิชาชีพของผู้ปฏิบัติ เพื่อให้การปฏิบัติงานอาชีพมีคุณภาพสูงสุด วิชาชีพใดๆ ย่อมให้บริการแก่สาธารณชน หรือองค์กรต่างๆ โดยต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญเฉพาะ โดยมีมาตรฐานในการประกอบอาชีพที่ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องได้รับการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างเพียงพอก่อนที่จะประกอบอาชีพ

        วิชาชีพที่มีมาตรฐาน จึงได้รับการยกย่องให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงเพราะผู้ประกอบวิชาชีพ นอกจากต้องมีความรู้และทักษะในวิชาชีพแล้วยังต้องมีความรับผิดชอบสูง เพราะเกี่ยวข้องกับผู้รับบริการและสาธารณชน จึงต้องมีการควบคุมการประกอบวิชาชีพเป็นพิเศษ เพื่อให้เกิดความมั่งใจต่อผู้รับบริการและสาธารณชน โดยผู้ประกอบวิชาชีพต้องประกอบวิชาชีพด้วยวิธีการแห่งปัญญา ได้รับการศึกษาอบรมมายาวนานเพียงพอ มีอิสระในการใช้ชีวิตตามมาตรฐานวิชาชีพ และมีจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งต้องมีสถาบันวิชาชีพหรือองค์กรวิชาชีพที่เป็นแหล่งกลางในการสร้างสรรค์และจรรโลงวิชาชีพด้วย
มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ ที่ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดคุณภาพในการประกอบวิชาชีพ สามารถสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาให้แก่ผู้รับบริการจากวิชาชีพได้ว่า เป็นบริการที่มีคุณภาพ และตอบสังคมได้ด้วยว่า การที่กฎหมายให้ความสำคัญกับวิชาชีพทางการศึกษา และกำหนดให้เป็นวิชาชีพควบคุมโดยต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพนั้น เนื่องจากเป็นวิชาชีพที่มีลักษณะเฉพาะ ต้องใช้ความรู้ ทักษะ และความเชี่ยวชาญในการประกอบวิชาชีพตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๔๙ ได้กำหนดมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาไว้ ๓ ด้าน คือ (มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา :สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ๒๕๔๘: ๔) เช่น

                ๑.มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู มาตรฐานข้อนี้ ประกอบด้วย มาตรฐาน ๒ ส่วน ได้แก่
                มาตรฐานความรู้ หมายถึง ข้อกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพครู มีคุณวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง
                มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพครูจะต้องผ่านการฝึกทักษะและสมรรถนะของวิชาชีพครูในด้านการปฏิบัติการสอน รวมทั้งทักษะและสมรรถนะด้านการสอนสาขาวิชาเฉพาะในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
๒. มาตรฐานการปฏิบัติงาน มีความหมายครอบคลุมมาตรฐานย่อยๆ ของการปฏิบัติงาน ๑๒ ประการด้วยกัน คือ
                - ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
                - ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน
                - มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
                - พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
                - พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
                - จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
                - รายงานผลกรพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
                - ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีกับผู้เรียน
                - ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
                - ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์
                - แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
                - สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์ 
   ๓. มาตรฐานการปฏิบัติตน  หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติของผู้ปฏิบัติวิชาชีพ จะต้อง  ประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณของมาตรฐานวิชาชีพครู ๕ ประการดังต่อไปนี้
                - จรรยาบรรณต่อตนเอง
                - จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
                - จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
                - จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
                - จรรยาบรรณต่อสังคม 
    พื้นฐานและแนวคิด
          โดยพื้นฐานและแนวความคิดความเชื่อของการมีมาตรฐานวิชาชีพ คือ
                - เป็นมาตรการของการให้ความสนับสนุนและช่วยเหลือผู้ประกอบวิชาชีพเพื่อสามารถพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพเป็นทั้งรายบุคคลและเป็นกลุ่มบุคคล
                - เป็นมาตรฐานที่ทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพสามารถเลื่อนตำแหน่งวิชาชีพ เพิ่มคุณวุฒิ คุณภาพ คุณสมบัติ รวมทั้งทักษะและเจตคติในการประกอบวิชาชีพ
                - เป็นมาตรการที่จะเพิ่มมาตรฐานในระดับวิชาชีพที่ทำอยู่ในด้านความรู้ความเข้าใจ และสมรรถนะของบุคคลให้มีความเป็นมืออาชีพในวิชาชีพยิ่งขึ้น เป็นต้น
          
มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษานั้น นอกจากเป็นมาตรฐานวิชาชีพที่ต้องประกอบวิชาชีพเพื่อบริการต่อสาธารณชนตามบริบทของวิชาชีพชั้นสูงทั่วไปแล้ว ยังต้องมีการปฏิบัติการวิชาชีพที่เกี่ยวกับบทบาทสำคัญต่อสังคมและความเจริญของประเทศที่สำคัญด้วยคือ (มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา : สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ๒๕๔๘: ๑)
                - สร้างพลเมืองดีของประเทศ โยให้การศึกษาขึ้นพื้นฐานที่ประเทศต้องการ
                - พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อสนองต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
                - สืบทอดวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามขงอชาติ จากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่ง เพื่อรักษาความเป็นชาติไว้ให้มั่นคงและยาวนาน

  การนำไปประยุกต์ใช้
                การใช้และปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพในรูปแบบและวิธีการที่ต่างๆ กัน ขึ้นกับแต่ละสถาบัน องค์กร สมาคม หรือสภาวิชาชีพต่างๆ การประยุกต์ใช้มาตรฐานวิชาชีพ ย่อมขึ้นกับความต่างของวิชาชีพ ความต่างของขอบเขตการใช้มาตรฐานด้วย
                เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับ คุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในการประกอบวิชาชีพครู โดยผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องนำมาตรฐานวิชาชีพเป็นหลักเกณฑ์ในประกอบวิชาชีพคุรุสภา
             มาตรฐานวิชาชีพครู  จะเป็นหลักเกณฑ์สำคัญในการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะมีสิทธิ   ได้รับ
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู หรือการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ โดยผู้ที่จะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ จะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรฐานวิชาชีพครู
                เป็นตัวชี้วัดหรือประมาณค่าผู้ปฏิบัติการวิชาชีพ ตามมาตรฐานด้านความรู้ ทักษะ และประสบการณ์วิชาชีพและส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อให้เกิดความมั่นใจมนวิชาชีพของผู้ปฏิบัติ เพื่อให้การปฏิบัติงานอาชีพมีคุณภาพสูงสุด วิชาชีพใดๆ ย่อมให้บริการแก่สาธารณชน หรือองค์กรต่างๆ โดยต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญเฉพาะ โดยมีมาตรฐานในการประกอบอาชีพที่ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องได้รับการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างเพียงพอก่อนที่จะประกอบอาชีพ

กิจกรรมที่ 5

  ให้นักศึกษาอ่านบทความเรื่องต้นแบบแห่งการเรียนรู้ แล้วสรุปลงในบล็อกของนักศึกษาสิ่งที่ได้คืออะไรและจะนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเองได้อย่างไร

                                                             
  สิ่งที่ได้รับ จากบทความเรื่องต้นแบบแห่งการเรียนรู้    

"คุณครู" ต้นแบบแห่งการเรียนรู้

เราจะเห็นว่าในปัจจุบันเราได้ยินคำว่าต้นแบบในวงการศึกษามากมาย ที่ได้ยินบ่อยมาก คือ ครูต้นแบบ ต่อมาก็มี โรงเรียนต้นแบบศึกษานิเทศก์ต้นแบบ และ ต่อ ๆ ไปก็จะมี ผู้บริหารต้นแบบ นักเรียนต้นแบบผู้ปกครองต้นแบบ ชุมชนต้นแบบ ภารโรงต้นแบบ ฯลฯ มีใครเคยสงสัยไหมว่า ต้นแบบ คืออะไรทำไมต้องมีครูต้นแบบเกิดประโยชน์อะไรถึงจะต้องคัดเลือกกันด้วยกระบวนการยุ่งยากซับซ้อน ประเมินแล้วประเมินเล่า เสียงบประมาณมากมาย มีหลายหน่วยงานทำเรื่องเดียวกันจนกลายเป็นว่า ต้นแบบของใครจะดีกว่า ?แล้วก็ได้ต้นแบบมาไม่ถึง 5%ของครูทั้งหมด มีการยกย่องเชิดชูเผยแพร่ ออกข่าววิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ แล้วคนที่ไม่ได้เป็นต้นแบบจะได้อะไร รู้สึกรู้สาอะไรกับ ต้นแบบ
ดังนั้นพวกเราชาวครูทั้งหลายคงทราบแล้วว่าครูต้นแบบโรงเรียนต้นแบบศึกษานิเทศก์ก็ต้นแบบ และต้นแบบอีกสารพัดที่กำลังจะตามมาทรงคุณค่าของการเป็นแบบแก่ครูและสังคมเพียงใด ต้นแบบต้องทำงานหนักและเหนื่อยทั้งเพื่อคงรักษาการเป็นต้นแบบอีกทั้งถ่ายทอดขยายเครือข่ายแก่ผู้ดูแบบทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการแต่ท่านเหล่านั้นคงไม่เหน็ดเหนื่อยต่อการสอนการเผยแพร่เพราะ.......ท่านมีวิญญาณแห่งต้นแบบพวกเรามาร่วมเป็นกำลังใจให้ต้นแบบกันเถอะค่ะไม่ว่าท่านจะเป็นต้นแบบจากองค์กรไหนท่านก็เป็นแรงบันดาลใจแก่ผู้พบเห็นได้เสมอทั้งที่ท่านรู้ตัวและไม่รู้ตัวท่านได้ทำบุญอันยิ่งใหญ่นัก สำหรับบางท่าน.......แม้ไม่มีองค์กรใดมารับรองว่าท่านเป็นต้นแบบแม้ท่านส่งผลงานเข้ารับเลือกเป็นต้นแบบแล้ว......ท่าน ไม่ได้รับเลือก  แต่ท่านอาเป็นแรงบันดาลใจเป็นต้นแบบของดวงตาคู่น้อย ๆที่จับจ้องดูทุกกิริยาของท่าน และท่านเป็นต้นแบบตั้งแต่มีเสียงเรียกท่านคุณครูและเราก็ต้องเป็นแบบอย่างของต้นแบบแห่งการเรียนรู้ด้วยนะครับ

การนำไปใช้ในการพัฒนาตนเอง
เราสามารถที่จะครูต้นแบบไปพัฒนาในชีวิตประจำวันได้ในหลายๆด้านเช่นการเป็นอยู่และการพัฒนาตัวเองเนื่องจากเรานั้นจะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้บุคคลอื่นนั้นเคารพนับถือเราและมีความไว้ว่างใจกับเราเพราะคนที่จะเป็นต้นแบบสอนให้รู้ ต้นแบบทำให้ดู และต้นแบบอยู่ให้เห็นหากครูเป็นต้นแบบที่ดีเป็นกัลยาณมิตรของศิษย์และเพื่อนครู ก็ย่อมจะเกิดผลต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ เกิดครูดีศิษย์ดีต่อเนื่องขยายวงต่อ ๆ กันไปผู้ที่มีวิญญาณแห่งต้นแบบการเรียนรู้ย่อมจะไปเหน็ดเหนื่อยในการถ่ายทอดดังนั้นคนที่จะได้คำๆนี้มานั้นก็จะต้องฝันฝาอุปสรรคหลายๆอย่างกว่าจะได้มาดังนั้นเราควรที่จะเอาเป็นแบบอย่างเหมือนกับคำว่าครูในต้นแบบแห่งการเรียนรู้





กิจกรรมที่4

ให้นักศึกษาอ่านบทความเรื่อง ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง และสรุปสิ่งที่นักศึกษาอ่านได้ลงในบล็อกของนักศึกษา


ผู้นำ และการเปลี่ยนแปลง
                            ดร. ประพนธ์ ผาสุขยืด
                            ผู้อำนวยการ สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม
         การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เราทุกคนคงยอมรับว่าไม่มียุคสมัยใดที่การเปลี่ยนแปลงจะรวดเร็วและมีผลกระทบรุนแรงเท่าในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงได้สร้างหายนะให้กับองค์กรหลายแห่งไม่เว้นแม้กระทั้งองค์กรที่เคยประสบความสำเร็จมาในอดีต ในขณะเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงก็ได้สร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับหลายองค์กรเช่นกัน ประเด็นเรื่องการอยู่รอดและการเปลี่ยนแปลงเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันโดยตรง ดังคำกล่าวของ ชาร์ล ดาร์วิน ที่ว่า "ผู้ที่อยู่รอด มิใช่เป็นสายพันธ์ (Species) ที่แข็งแรงที่สุดหรือฉลาดที่สุด หากแต่ว่าเป็นผู้ที่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้ดีที่สุดต่างหาก"
การเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้ หากจะมองในระดับบุคคลแล้ว คงจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดจะสำคัญและยิ่งใหญ่ไปกว่าการปรับเปลี่ยนมุมมอง (ทิฏฐิ) และทัศนคติ (Attitude) การรู้จักเปิดใจกว้าง ไม่ยึดติดอยู่กับความคิด หรือความรู้เดิมๆ ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ เป็นการเริ่มต้นสู่การเปิดรับสิ่งใหม่ด้วยใจที่ไม่อคติ (Bias) ประเด็นคำถามที่ตามมาก็คือ
ทำอย่างไรเราจึงจะเห็นและเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างตามที่เป็นหรือเกิดขึ้นจริง มิใช่เป็นการเห็นหรือเข้าใจตามที่เราต้องการจะเห็นหรือให้มันเป็น
ทำอย่างไรเราจึงจะสามารถใช้ทั้งความรู้และความรู้สึกควบคู่กันไปอย่างได้สมดุล
ทำอย่างไรเราจึงจะไม่ยึดติดอยู่กับรูปแบบจนอาจลืมสาระและวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของสิ่งนั้นๆไป
ทำอย่างไรเราจึงจะเห็นความจำเป็นของระบบ ของมาตรฐานโดยที่ไม่มองข้ามความงดงามอันเนื่องมาจากความหลากหลาย (Diversity)
เราจะต้องปรับเปลี่ยนองค์กรอย่างไร เพื่อให้ได้มาซึ่งโครงสร้างองค์กรที่แบนราบ (Flat) ไม่สลับซับซ้อนไม่มีลำดับชั้นมากมาย เป็นองค์กรที่มีความยืดหยุ่น (Flexible) เป็นการบริหารงานโดยผ่านกระบวนการ (Process) อาศัยการทำงานแบบร่วมกันเป็นทีม แทนการบริหารงานแบบดั้งเดิมที่เน้นการดำเนินงานตามสายงาน (Function) เป็นหลัก ทำอย่างไรผู้บริหารถึงจะเข้าใจว่าระบบขององค์กรโดยแท้จริงแล้วเป็นระบบที่มีชีวิต เป็นระบบที่เปิด (Open System) ที่จำเป็นต้องมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เป็นระบบที่รดำเนินงาน (Procedure) หากแต่ว่าเป็นระบบที่ประกอบด้วยชีวิต จิตวิญญาณ ความรู้สึก ความสัมพันธ์ระหว่างกัน ที่มิอาจถ่ายทอดออกเป็นตัวหนังสือ หรือเขียนออกมาอยู่ในรูปแบบของเอกสารได้ทั้งหมด
                    การสร้างการเปลี่ยนแปลงในเรื่องดังกล่าวคงจะไม่ใช่เรื่องที่ง่าย หากเรายังใช้แต่หลักทางด้านการจัดการ (Management) อยู่ เพราะการจัดการนั้นจริงๆแล้วใช้ได้ผลดีเฉพาะกับสิ่งที่เป็นสิ่งของ (Things) เท่านั้น แต่เรื่องการเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคน ตัวอย่างเช่น เวลาเราพูดถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร ก็เป็นเรื่องของคน การปรับเปลี่ยนระบบก็เกี่ยวกับคน การนำเทคโนโลยีมาใช้ก็เกี่ยวกับคนเช่นกัน ซึ่งเรื่องของคนนั้นหากจะให้ได้ผลแล้วจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้สิ่งที่เรียกว่า ภาวะผู้นำ (Leadership) มากกว่าที่จะใช้การจัดการ ภาวะผู้นำหรือความสามารถในการนำนี้ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงสำเร็จ หลายคนบอกว่าการนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงนั้นควรจะต้องเริ่มต้นด้วยวิสัยทัศน์ที่ชัดและจูงใจก่อนเป็นอันดับแรก เพราะนั่นคือการกำหนดทิศทาง เป็นการวางเป้าหมายสำหรับอนาคต แต่สำหรับผมแล้วผมกลับเห็นว่าการสร้างศรัทธาต่างหากที่เป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้การนำนี้สำเร็จ เพราะจากประสบการณ์ที่ผ่านมา ผมพบว่าแม้วิสัยทัศน์ที่สร้างขึ้นมานั้นจะดึงดูดและชวนให้ตื่นตาตื่นใจสักเพียงใดก็ตาม แต่หากคนทั่วไปไม่ยอมรับนับถือหรือศรัทธาในตัวผู้นำแล้ว วิสัยทัศน์ที่วางไว้นั้นก็มักจะไร้ความหมาย ไม่มีน้ำหนัก ปราศจาก Momentum แต่ในทางตรงกันข้าม ถึงแม้วิสัยทัศน์หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้อาจจะดูไม่ดึงดูดใจเท่าที่ควร แต่ถ้าหากคนมีความชอบ ความเชื่อ หรือศรัทธาในตัวผู้นำแล้ว การเปลี่ยนแปลงนั้นๆก็มีโอกาสที่จะสำเร็จได้มากทีเดียว

วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

นักวิชาการที่ชื่นชอบ


                               ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์     

                                      ประวัติ


     ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เกิดเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นคนไทยเชื้อสายจีนฮกเกี้ยน จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จบการศึกษา เศรษฐศาสตร์การคลัง และเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และต่อปริญญาโท MBA สาขาบริหารการเงิน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และ ปริญญาเอก สาขาบริหารธุรกิจ เน้นการจัดการด้านการตลาด ที่มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น สหรัฐอเมริกา ชีวิตส่วนตัว สมรสกับ นางอนุรัชนี จาตุศรีพิทักษ์ (สกุลเดิม "ภิงคารวัฒน์")

การทำงาน

เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กระทรวงการคลัง




ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ




ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล



ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์




กรรมการ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย




กรรมการ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)

ที่ปรึกษา ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย




     กรรมการในอนุกรรมการพิจารณารับและเพิกถอนหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย















บทความที่ชื่นชอบ

ยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาความยากจน


       แม้จะห่างหายไปจากแวดวงการเมือง เพราะติดไซเรนพีเรียด 5 ปี จากกรณีการยุบพรรคไทยรักไทย แต่ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ยังทำงานติดตามความเคลื่อนไหวทั้งเศรษฐกิจ สังคม การเมือง รวมทั้งยังคงความเป็นนักวิชาการนักยุทธศาสตร์ที่จะช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยผ่านช่องทางอื่น ๆ อย่างสม่ำเสมอในห้วงเวลา 6 ปีที่อยู่ในการเมือง หลายภารกิจในการฟื้นฟูให้ประชาชนมีวิถีชีวิต “กินดีอยู่ดี” ถูกแปลงโครงการประชานิยม อาทิ โครงการพักหนี้เกษตรกร โครงการฟู้ดเซฟตี้ โครงการครัวไทยสู่ครัวโลก กองทุนเอสเอ็มแอล เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อความอยู่ดีกินดีและเพื่อจะสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรในอนาคตข้างหน้า
นี่คือภารกิจที่ยังทำไม่จบ เพราะมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเสียก่อน
แม้จะไม่มีโอกาสในการลงมือทำ แต่ใช้โอกาสที่ได้รับเชิญไปพูดบอกเล่าสิ่งที่อยากเห็นประเทศไทยต้องปฏิรูป อาทิ ในโอกาสที่กรมส่งเสริมสหกรณ์เชิญมาปาฐกถาพิเศษ…สหกรณ์ไทยเข้มแข็ง ประเทศไทยมั่นคง
ทั้งนี้ได้เล็งเห็นว่ายิ่งประเทศไทยพัฒนามากเท่าไหร่ ดูเหมือนว่าความเหลื่อมล้ำและช่องว่างในสังคมยิ่งมากขึ้นเท่านั้น ยิ่งพัฒนาเท่าไหร่เกษตรกรยังยากจนอยู่ แม้จะมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมา 10 แผน กำลังขึ้นแผนฉบับที่ 11 ก็ตาม
30 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยอาศัยสูตรสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจ คือการพึ่งพิงการส่งออกเป็นพลังขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศ นโยบายที่ออกมาจึงเน้นมาตรการใหม่ ๆ เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศเข้ามา เน้นการผลิตเพื่อส่งออก
จากสูตรสำเร็จนี้ทำให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างสูงและเร็วในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมา ทำให้เกิดการละเลยการลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ ระหว่างในเมืองกับภูมิภาค ระหว่าง ภาคอุตสาหกรรมกับภาคการเกษตร เร่งการเติบโตเศรษฐกิจจนกลายเป็น high growth economy
การพัฒนาในสูตรนี้มีผลทำให้ภาคประชาชนในชนบทขาดความเข้มแข็ง ยิ่งต้องพึ่งพาการส่งออก เป็นวงจรซ้ำแล้วซ้ำเล่า ยิ่งนานวันความมั่งคั่งกระจุกตัวในบางกลุ่ม บางอุตสาหกรรม ร้อยละ 30 ของกลุ่มที่อยู่ระดับบนสุดของสังคมไทยครอบคลุมรายได้ประชาชาติกว่า 80% ของประเทศ
อันนี้เป็นอุทาหรณ์ว่าในขณะนี้แม้เศรษฐกิจเติบโตค่อนข้างเข้มแข็ง แต่ในแง่การกระจายรายได้ การสร้างความเท่าเทียม ยังไม่บรรลุสู่เป้าหมายได้ เป็นจุดเริ่มต้นที่ต้องสำนึกว่าถึงเวลาที่ต้องสร้าง “เศรษฐกิจในประเทศ” ให้เข้มแข็ง

ดร.สมคิดได้ยกตัวอย่างประเทศจีนที่พัฒนาความเข้มแข็งเศรษฐกิจในประเทศ อย่างทุ่มเงิน งบประมาณ 4 ล้านล้านหยวนเพื่อพัฒนาภาคเกษตร ทุ่มเทด้านการชลประทาน การพัฒนาสวัสดิการคนในท้องถิ่น จีนเป็นประเทศแรกที่สามารถก้าวพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกในครั้งนี้ได้
ฉะนั้นถึงเวลาที่ไทยควรมองจีนเป็นตัวอย่าง ถึงเวลาที่ไทยที่จะเอาจริงเอาจังการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศ สร้างความ เข้มแข็งในชนบท สร้างความเข้มแข็งกับเกษตร เพื่อให้เป็นฐานพลังเศรษฐกิจในอนาคตข้างหน้า ถึงเวลาที่ประเทศไทยต้องคิดใหม่ ว่าการเน้นการเติบโตเศรษฐกิจอย่างเดียวไม่ใช่เป้าหมาย มันเป็นเพียงเครื่องมือในการสร้างความมั่นคง ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ แต่ไม่ได้ จบแค่นั้น มันต้องกระจายความมั่งคั่งออกไปสู่ชนบทให้เกิดความเท่าเทียม ประเทศจึงจะมีความยั่งยืนถึงจะอยู่ได้
ดร.สมคิดบอกว่า เขาเชื่อมั่นใน 2 ประการว่า 1.ความยากจนของเกษตรกร ความด้อยพัฒนาของชนบท ไม่ใช่ภาระ แต่เป็นโอกาสของประเทศ หากคน 40-50 ล้านคนเป็นเกษตรกร ถ้าเราสามารถหากพลิกฟื้นให้เขา “กินดีอยู่ดี” ได้ หากเขามีอำนาจซื้อในประเทศ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจะมหาศาล โดยที่เราไม่จำเป็นต้องพึ่งพิงการส่งออกอย่างเดียว 2.เชื่อมั่นว่าการแก้ไขความยากจนกับการพัฒนาชนบทเป็นสิ่งที่ทำได้ หากทำอย่างจริงจังและทำอย่างถูกต้อง
ดร.สมคิดได้เสนอแนวทางการแก้ไขความยากจน การพัฒนาชนบทให้เข้มแข็งต้องทำ 2 แนวทางควบคู่กันไป กล่าวคือแนวทางที่ 1.กระจายอำนาจบริหารไปสู่ระดับภูมิภาค ไม่ใช่กระจุกที่ส่วนกลาง ประเทศจีนมีประชากร 1,000 ล้านคน แต่การขับเคลื่อนประเทศจีนอยู่ที่ 3 กลุ่มใหญ่ ๆ 1.กลุ่มทางภาคใต้ 2.กลุ่มทางภาคตะวันออกหรือเซี่ยงไฮ้ 3.กลุ่มทางภาคเหนือ มีปักกิ่ง เทียนสิน เป็นต้น แต่ละกลุ่มได้รับการกระจายอำนาจ ให้มียุทธศาสตร์ มีงบประมาณของตัวเอง มีรัฐบาลท้องถิ่นในการบริหารจัดการ เขาสามารถคิดยุทธศาสตร์ว่าจะพัฒนาภาคเกษตรของเขาอย่างไร เขาจะพัฒนาอุตสาหกรรมอะไรเป็นหลัก เขาจะเชื่อมโยงกับภาคเอกชนอย่างไร จะเชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัยอย่างไร จะบริหารการท่องเที่ยวของเขาอย่างไรโดยตัวเขาเอง และมีรัฐบาลส่วนกลางมีหน้าที่สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน ในอนาคต 10 ปีข้างหน้า 3 กลุ่มนี้จะมีรายได้ประชาชาติ 2 ใน 3 ของประเทศจีน
หรืออย่างประเทศเกาหลีใต้ พุ่งทะยานได้ใน 30 ปีที่ผ่านมามีจังหวัดสำคัญ 16 จังหวัด แยกเป็น 7 โซน มีการแบ่งการบริหาร การจัดการ ที่คล่องตัว มีการท่องเที่ยวในภูมิภาค มีบีโอไอในภูมิภาค โดยไม่ต้องพึ่งพิงแค่ส่วนกลาง ในปัจจุบัน 7 โซนเศรษฐกิจเป็นแหล่งการพัฒนาอุตสาหกรรมและภาคเกษตรที่สำคัญอย่างยิ่ง
ทั้ง 2 ประเทศนี้เป็นตัวอย่างให้เห็นว่าประเทศที่จะพัฒนาได้นั้นไม่ใช่แค่การระดมคน, เงิน, เทคโนโลยี สู่ส่วนกลาง ไม่ใช่… แต่คนดีคนเก่ง เงิน วิทยาการต้องกระจายออกไป เพราะคนในพื้นที่ย่อมรู้ว่าปัญหาของเขาคืออะไร
ดร.สมคิดบอกว่า เมื่อหันมามองไทยในสมัยที่เคยทำงานการเมืองเคยพยายามแบ่งเป็นคลัสเตอร์ เช่น 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน อันดามัน กลุ่มอีสานตอนบน ตอนล่าง ให้มีการรวมกันเป็นคลัสเตอร์ เพราะอะไร…หากให้ทุกคนต่างคนต่างไป เช่น 8 จว.ภาคเหนือมีการคิดยุทธศาสตร์ออกมาว่าจะพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างไร ภาคเกษตรอย่างไร ควรจะมีอุตสาหกรรมอะไรบ้าง จะเชื่อมโยงมหาวิทยาลัยอย่างไร จะไปดึงต่างประเทศมาลงทุนอย่างไร นี่คือสิ่งที่เคยผลักดันเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ออกมาในทิศทางเดียวกัน เพื่อทำให้ภูมิภาคเข้มแข็ง
ประเทศไทยจะเข้มแข็งได้ ต้องเริ่มที่ระดับภูมิภาคในเชิงยุทธศาสตร์คลัสเตอร์ รวมกลุ่มจังหวัด แต่ละจังหวัดต้องมีงบประมาณของตัวเอง และมีงบประมาณกลางของคลัสเตอร์ หากทำได้ยิ่งนานวันจะยิ่งพัฒนามากขึ้นในการบริหารจัดการร่วมกัน ก็จะเข้มแข็ง
แต่วันนี้กลับมาที่จุดเริ่มต้น ผู้ว่าราชการจังหวัดมีหน้าที่เดิน ตามรัฐมนตรี แทนที่จะมุ่งเน้นพัฒนา กลับมาเริ่มต้นใหม่
แนวทางที่ 2.หัวใจในการแก้ปัญหาความยากจนต้องมาจากล่าง สู่บน จากการสำรวจของธนาคารโลก สุ่ม 6 หมื่นตัวอย่าง จาก 15 ประเทศ พบว่าการแก้ไขปัญหาความยากจนต้องแก้จากข้างล่างไปข้างบน เพราะมีหัวใจ 2 เรื่อง 1.ความคิดริเริ่มที่มาจากประชาชนในท้องถิ่น 2.พลังผลักดันจากภายในว่าเขาต้องการก้าวพ้นจาก ความยากจน คนที่ไม่มีความประสงค์จะออกจากความยากจนจะไม่มีทางหายยากจนได้เลย
ปัจจัย 2 อย่างนี้สะท้อนว่าหากจะทำให้เขาหายจากยากจน ต้องลงไปใกล้ชิดกับพวกเขา พยายามดึงพลังเขาออกมา ให้เขาคิดริเริ่มออกมาว่าเขาคิดจะทำอย่างไรที่จะหลุดจากความยากจน และหัวใจสำคัญในนั้นคือการรวมกลุ่มของเกษตรกร พบว่าหากแก้ไขในตัวเกษตรกรเดี่ยวๆ…ไม่มีทางสำเร็จ เพราะเกษตรกรอ่อนแอ ยากจน แต่ถ้าหากการช่วยเหลือไปที่กลุ่มเกษตรกร
ดร.สมคิดมองว่ากลุ่มเกษตรกรที่สำคัญมาก ๆ คือกลุ่มสหกรณ์ นี่คือหัวใจที่จะยกระดับการกินดีอยู่ดีของเกษตรกร
พร้อมกับยกตัวอย่างว่าได้ไปเที่ยวญี่ปุ่น โดยลงไปลึกถึงชนบท มีโอกาสไปพักบ้านเกษตรกรญี่ปุ่น พบว่าเกษตรกรเขามีบ้าน มีรถ ลูกได้เรียนดี ๆ สินค้าถูกคัดสรรอย่างดีมีการแปรรูปหลากหลายวางจำหน่ายในชุมชน สรรพสินค้า ระบุว่ามาจากไหน ได้เห็นการทำหมู่บ้านเกษตรกร เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว ดึงนักท่องเที่ยวไปค้างตามบ้านเกษตรกร มีการจัดสถานที่ขายสินค้าท้องถิ่นอยู่ในหมู่บ้าน มีคนต่างชาติเดินช็อปปิ้งอย่างมีความสุข ถามเขาว่าทำไมเกษตรกรที่นี่ ถึงเป็นแบบนี้ได้ คำตอบที่ได้คือสหกรณ์ สหกรณ์ของญี่ปุ่น เข้มแข็งมาก
คำว่าสหกรณ์คือความร่วมมือกัน สัญลักษณ์ของสหกรณ์คือเกลียวเชือก นั่นคือจิตวิญญาณของสหกรณ์ สหกรณ์เกษตรของญี่ปุ่นทำอะไรบ้าง ระดับการผลิต เขารวมพลังในการจัดซื้อ ปัจจัยการผลิตที่มีวิทยาการสูง ราคาถูกเพราะมีอำนาจต่อรอง ใช้เครื่องมือการผลิตที่ทันสมัย รวมกลุ่มแล้วไปกู้แบงก์ ไม่ขาดเงินทุนหมุนเวียน สร้างไซโล โรงเก็บ โรงงานแปรรูป การขนส่งเชื่อมโยงกับสหกรณ์ขนส่ง ได้ในราคาถูกที่สุด มีอำนาจต่อรองในการจำหน่าย มีมุมของเขาโดยเฉพาะในการวางจำหน่าย ทุกอย่างเหล่านี้เกษตรกรคนเดียวทำไม่ได้ เกษตรกรทุกคนภูมิใจใน สหกรณ์ของเขามาก เห็นเขาแล้วกลับมาคิดถึงสหกรณ์ที่ประเทศไทย
ดร.สมคิดมองว่าถึงเวลาที่ต้องพยายามร่วมมือกันสร้างสหกรณ์ไทยให้เข้มแข็งให้ได้…โดยเล่าว่าเคยไปเปิดตลาด ผลไม้จีนที่กว่างโจวกับฮ่องกง เขาต้องการผลไม้ไทย ทุเรียน เงาะ ลำไย และพ่อค้าเขารู้ช่องทางตลาดของไทยดีมากมาซื้อผลไม้จากชาวสวน แต่ไม่ให้รู้เด็ดขาดว่าจะขายอย่างไรที่เมืองจีน
“ผมไปโรงแรมที่มาเก๊า เขาต้องการผลไม้จากไทยเพื่อสร้างความแตกต่างจากโรงแรมในฮ่องกง เขาบอกว่ารับไม่อั้น ผมกลับมา คิดอยู่นานว่าจะทำอย่างไร เพื่อให้สหกรณ์ไทยขายผลไม้ได้ หากเราเชื่อมโยงสหกรณ์ตั้งแต่ต้นทางคือชาวสวนจันทบุรี ระยอง ชุมพร เชื่อมโยงไปถึงการขนส่ง แพ็กเกจ เพื่อไปต่อรองกับพ่อค้าชาวจีน ทั้ง ๆ ที่เขาต้องการสินค้าไม่อั้น แต่วันนี้เราทำไม่ได้ เพราะข้อมูลถูกปิดกั้น ชาวสวนไม่รู้จะขายเมื่อไหร่ ขายอย่างไร ถูกพ่อค้ากดราคาตามสวน คนจีนบินมาที่หลังสวนมาช็อปผลไม้ รู้ไหมว่า กำไรเท่าไหร่ สิ่งเหล่านี้ ถามว่าหากสหกรณ์ทำได้เข้มแข็ง ธ.ก.ส. กระทรวงเกษตรฯทำให้เต็มที่ มาช่วยสนับสนุนมีหรือจะทำไม่ได้ ใครเป็นเจ้าพ่ออยู่ที่ตลาดกว่างโจว ผมยังรู้จัก นี่คือตัวอย่างของชาวสวนไม่ต้องเอาเงาะมาเทกระจาดบนถนน”
ดร.สมคิดบอกว่า…เห็นแล้วมันเซ็งในหัวใจ เหมือนเห็นโจทย์เลขว่าเราทำได้แน่นอน แต่ทำไมแหล่งพลังการขับเคลื่อนไม่มี
พร้อมย้ำว่าเกษตรกรคนเดียวทำไม่ได้ แต่เครือข่ายสหกรณ์ทำได้แน่นอน วันนี้สมาชิกสหกรณ์มีเป็น 10 ล้านคน โจทย์คือทำอย่างไรให้สหกรณ์เข้มแข็ง โดยเสนอว่า
1.ขั้นตอนการปรับฐานคือต้องยุบรวมกลุ่มสหกรณ์ที่ไม่เข้มแข็ง กลุ่มที่ไปได้แต่การเงินไม่เข้มแข็งจะปรับโครงสร้างหนี้อย่างไร ทำควบคู่การพัฒนา
2.ยกระดับสหกรณ์ในการสร้างความสามารถ อาจจะต้องมีหลายระดับ ระดับเบื้องต้นเขาต้องรู้ว่าเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างไร โลกเป็นอย่างไร เขาเป็นส่วนหนึ่งของโลกอย่างไร ระดับขั้นตอนการผลิตต้องพัฒนาการผลิตอย่างไร ระดับขั้นการดีไซน์ต้องทำอย่างไร ทั้งนี้จำเป็นต้องมีโครงการนำร่องคัดเลือกสหกรณ์ดีเด่น พาไปดูงาน ต่อมาไปเป็นครูแนะนำสหกรณ์อื่น ๆ พร้อมยกระดับสร้างความกลมเกลียวในหมู่สหกรณ์ สร้างความภูมิใจ รวมทั้งยกระดับโดยการเชื่อมโยงกับภาคเอกชน
3.ระดับก้าวสู่โลก สร้างเครือข่ายห่วงโซ่ต้นทางจบปลายทาง เชื่อมโยงสหกรณ์ เชื่อมโยง อบต-อบจ. เชื่อมกับระดับภูมิภาคเพื่อสร้างความเข้มแข็ง เมื่อชนบทเข้มแข็งขึ้น ภาคประชาชนเข้มแข็ง การเมืองจะเข้มแข็ง เมื่อนั้นประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อประชาชนท้องอิ่ม รักใคร่สามัคคี มีความเข้มแข็ง เงินซื้อไม่ได้ เขารวมกลุ่มเข้มแข็ง จะมาหลอกหลวง ปั่นกระแส ไม่ได้”
“ฉะนั้นผมอยากให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ภูมิใจ จริง ๆ กรมนี้ถูกมองข้ามมานาน มันเป็นหัวใจที่สร้างภาคประชาชนให้เข้มแข็ง ถ้าภาคประชาชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจในประเทศจะเข้มแข็ง อำนาจซื้อเข้มแข็ง ไทยจะสมดุลทั้งเศรษฐกิจในและนอกประเทศ การขับเคลื่อนจะเกิด ชีวิตที่ดีจะเกิด ความเท่าเทียมกันก็จะกระจาย หากไม่ทำแบบนี้ โดยรวมศูนย์อยู่ส่วนกลาง ถึงก็ช่างไม่ถึงก็ช่าง รัฐมนตรีว่าแล้วแต่จะชงเรื่องอะไร หากเป็นอย่างนั้น อีกนานกว่าเกษตรกรไทยจะมีบ้านดี ๆ อยู่ ลูกจะมีการศึกษาดี ๆ เรียน ช่วยกันสร้างผู้นำรุ่นใหม่ ๆ จากฐานชาวบ้านขึ้นมา สร้างความเข้มแข็งขึ้นมา นั่นแหละประเทศไทยจะอยู่รอดได้”