วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

นักวิชาการที่ชื่นชอบ


                               ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์     

                                      ประวัติ


     ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เกิดเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นคนไทยเชื้อสายจีนฮกเกี้ยน จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จบการศึกษา เศรษฐศาสตร์การคลัง และเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และต่อปริญญาโท MBA สาขาบริหารการเงิน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และ ปริญญาเอก สาขาบริหารธุรกิจ เน้นการจัดการด้านการตลาด ที่มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น สหรัฐอเมริกา ชีวิตส่วนตัว สมรสกับ นางอนุรัชนี จาตุศรีพิทักษ์ (สกุลเดิม "ภิงคารวัฒน์")

การทำงาน

เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กระทรวงการคลัง




ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ




ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล



ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์




กรรมการ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย




กรรมการ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)

ที่ปรึกษา ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย




     กรรมการในอนุกรรมการพิจารณารับและเพิกถอนหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย















บทความที่ชื่นชอบ

ยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาความยากจน


       แม้จะห่างหายไปจากแวดวงการเมือง เพราะติดไซเรนพีเรียด 5 ปี จากกรณีการยุบพรรคไทยรักไทย แต่ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ยังทำงานติดตามความเคลื่อนไหวทั้งเศรษฐกิจ สังคม การเมือง รวมทั้งยังคงความเป็นนักวิชาการนักยุทธศาสตร์ที่จะช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยผ่านช่องทางอื่น ๆ อย่างสม่ำเสมอในห้วงเวลา 6 ปีที่อยู่ในการเมือง หลายภารกิจในการฟื้นฟูให้ประชาชนมีวิถีชีวิต “กินดีอยู่ดี” ถูกแปลงโครงการประชานิยม อาทิ โครงการพักหนี้เกษตรกร โครงการฟู้ดเซฟตี้ โครงการครัวไทยสู่ครัวโลก กองทุนเอสเอ็มแอล เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อความอยู่ดีกินดีและเพื่อจะสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรในอนาคตข้างหน้า
นี่คือภารกิจที่ยังทำไม่จบ เพราะมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเสียก่อน
แม้จะไม่มีโอกาสในการลงมือทำ แต่ใช้โอกาสที่ได้รับเชิญไปพูดบอกเล่าสิ่งที่อยากเห็นประเทศไทยต้องปฏิรูป อาทิ ในโอกาสที่กรมส่งเสริมสหกรณ์เชิญมาปาฐกถาพิเศษ…สหกรณ์ไทยเข้มแข็ง ประเทศไทยมั่นคง
ทั้งนี้ได้เล็งเห็นว่ายิ่งประเทศไทยพัฒนามากเท่าไหร่ ดูเหมือนว่าความเหลื่อมล้ำและช่องว่างในสังคมยิ่งมากขึ้นเท่านั้น ยิ่งพัฒนาเท่าไหร่เกษตรกรยังยากจนอยู่ แม้จะมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมา 10 แผน กำลังขึ้นแผนฉบับที่ 11 ก็ตาม
30 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยอาศัยสูตรสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจ คือการพึ่งพิงการส่งออกเป็นพลังขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศ นโยบายที่ออกมาจึงเน้นมาตรการใหม่ ๆ เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศเข้ามา เน้นการผลิตเพื่อส่งออก
จากสูตรสำเร็จนี้ทำให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างสูงและเร็วในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมา ทำให้เกิดการละเลยการลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ ระหว่างในเมืองกับภูมิภาค ระหว่าง ภาคอุตสาหกรรมกับภาคการเกษตร เร่งการเติบโตเศรษฐกิจจนกลายเป็น high growth economy
การพัฒนาในสูตรนี้มีผลทำให้ภาคประชาชนในชนบทขาดความเข้มแข็ง ยิ่งต้องพึ่งพาการส่งออก เป็นวงจรซ้ำแล้วซ้ำเล่า ยิ่งนานวันความมั่งคั่งกระจุกตัวในบางกลุ่ม บางอุตสาหกรรม ร้อยละ 30 ของกลุ่มที่อยู่ระดับบนสุดของสังคมไทยครอบคลุมรายได้ประชาชาติกว่า 80% ของประเทศ
อันนี้เป็นอุทาหรณ์ว่าในขณะนี้แม้เศรษฐกิจเติบโตค่อนข้างเข้มแข็ง แต่ในแง่การกระจายรายได้ การสร้างความเท่าเทียม ยังไม่บรรลุสู่เป้าหมายได้ เป็นจุดเริ่มต้นที่ต้องสำนึกว่าถึงเวลาที่ต้องสร้าง “เศรษฐกิจในประเทศ” ให้เข้มแข็ง

ดร.สมคิดได้ยกตัวอย่างประเทศจีนที่พัฒนาความเข้มแข็งเศรษฐกิจในประเทศ อย่างทุ่มเงิน งบประมาณ 4 ล้านล้านหยวนเพื่อพัฒนาภาคเกษตร ทุ่มเทด้านการชลประทาน การพัฒนาสวัสดิการคนในท้องถิ่น จีนเป็นประเทศแรกที่สามารถก้าวพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกในครั้งนี้ได้
ฉะนั้นถึงเวลาที่ไทยควรมองจีนเป็นตัวอย่าง ถึงเวลาที่ไทยที่จะเอาจริงเอาจังการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศ สร้างความ เข้มแข็งในชนบท สร้างความเข้มแข็งกับเกษตร เพื่อให้เป็นฐานพลังเศรษฐกิจในอนาคตข้างหน้า ถึงเวลาที่ประเทศไทยต้องคิดใหม่ ว่าการเน้นการเติบโตเศรษฐกิจอย่างเดียวไม่ใช่เป้าหมาย มันเป็นเพียงเครื่องมือในการสร้างความมั่นคง ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ แต่ไม่ได้ จบแค่นั้น มันต้องกระจายความมั่งคั่งออกไปสู่ชนบทให้เกิดความเท่าเทียม ประเทศจึงจะมีความยั่งยืนถึงจะอยู่ได้
ดร.สมคิดบอกว่า เขาเชื่อมั่นใน 2 ประการว่า 1.ความยากจนของเกษตรกร ความด้อยพัฒนาของชนบท ไม่ใช่ภาระ แต่เป็นโอกาสของประเทศ หากคน 40-50 ล้านคนเป็นเกษตรกร ถ้าเราสามารถหากพลิกฟื้นให้เขา “กินดีอยู่ดี” ได้ หากเขามีอำนาจซื้อในประเทศ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจะมหาศาล โดยที่เราไม่จำเป็นต้องพึ่งพิงการส่งออกอย่างเดียว 2.เชื่อมั่นว่าการแก้ไขความยากจนกับการพัฒนาชนบทเป็นสิ่งที่ทำได้ หากทำอย่างจริงจังและทำอย่างถูกต้อง
ดร.สมคิดได้เสนอแนวทางการแก้ไขความยากจน การพัฒนาชนบทให้เข้มแข็งต้องทำ 2 แนวทางควบคู่กันไป กล่าวคือแนวทางที่ 1.กระจายอำนาจบริหารไปสู่ระดับภูมิภาค ไม่ใช่กระจุกที่ส่วนกลาง ประเทศจีนมีประชากร 1,000 ล้านคน แต่การขับเคลื่อนประเทศจีนอยู่ที่ 3 กลุ่มใหญ่ ๆ 1.กลุ่มทางภาคใต้ 2.กลุ่มทางภาคตะวันออกหรือเซี่ยงไฮ้ 3.กลุ่มทางภาคเหนือ มีปักกิ่ง เทียนสิน เป็นต้น แต่ละกลุ่มได้รับการกระจายอำนาจ ให้มียุทธศาสตร์ มีงบประมาณของตัวเอง มีรัฐบาลท้องถิ่นในการบริหารจัดการ เขาสามารถคิดยุทธศาสตร์ว่าจะพัฒนาภาคเกษตรของเขาอย่างไร เขาจะพัฒนาอุตสาหกรรมอะไรเป็นหลัก เขาจะเชื่อมโยงกับภาคเอกชนอย่างไร จะเชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัยอย่างไร จะบริหารการท่องเที่ยวของเขาอย่างไรโดยตัวเขาเอง และมีรัฐบาลส่วนกลางมีหน้าที่สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน ในอนาคต 10 ปีข้างหน้า 3 กลุ่มนี้จะมีรายได้ประชาชาติ 2 ใน 3 ของประเทศจีน
หรืออย่างประเทศเกาหลีใต้ พุ่งทะยานได้ใน 30 ปีที่ผ่านมามีจังหวัดสำคัญ 16 จังหวัด แยกเป็น 7 โซน มีการแบ่งการบริหาร การจัดการ ที่คล่องตัว มีการท่องเที่ยวในภูมิภาค มีบีโอไอในภูมิภาค โดยไม่ต้องพึ่งพิงแค่ส่วนกลาง ในปัจจุบัน 7 โซนเศรษฐกิจเป็นแหล่งการพัฒนาอุตสาหกรรมและภาคเกษตรที่สำคัญอย่างยิ่ง
ทั้ง 2 ประเทศนี้เป็นตัวอย่างให้เห็นว่าประเทศที่จะพัฒนาได้นั้นไม่ใช่แค่การระดมคน, เงิน, เทคโนโลยี สู่ส่วนกลาง ไม่ใช่… แต่คนดีคนเก่ง เงิน วิทยาการต้องกระจายออกไป เพราะคนในพื้นที่ย่อมรู้ว่าปัญหาของเขาคืออะไร
ดร.สมคิดบอกว่า เมื่อหันมามองไทยในสมัยที่เคยทำงานการเมืองเคยพยายามแบ่งเป็นคลัสเตอร์ เช่น 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน อันดามัน กลุ่มอีสานตอนบน ตอนล่าง ให้มีการรวมกันเป็นคลัสเตอร์ เพราะอะไร…หากให้ทุกคนต่างคนต่างไป เช่น 8 จว.ภาคเหนือมีการคิดยุทธศาสตร์ออกมาว่าจะพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างไร ภาคเกษตรอย่างไร ควรจะมีอุตสาหกรรมอะไรบ้าง จะเชื่อมโยงมหาวิทยาลัยอย่างไร จะไปดึงต่างประเทศมาลงทุนอย่างไร นี่คือสิ่งที่เคยผลักดันเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ออกมาในทิศทางเดียวกัน เพื่อทำให้ภูมิภาคเข้มแข็ง
ประเทศไทยจะเข้มแข็งได้ ต้องเริ่มที่ระดับภูมิภาคในเชิงยุทธศาสตร์คลัสเตอร์ รวมกลุ่มจังหวัด แต่ละจังหวัดต้องมีงบประมาณของตัวเอง และมีงบประมาณกลางของคลัสเตอร์ หากทำได้ยิ่งนานวันจะยิ่งพัฒนามากขึ้นในการบริหารจัดการร่วมกัน ก็จะเข้มแข็ง
แต่วันนี้กลับมาที่จุดเริ่มต้น ผู้ว่าราชการจังหวัดมีหน้าที่เดิน ตามรัฐมนตรี แทนที่จะมุ่งเน้นพัฒนา กลับมาเริ่มต้นใหม่
แนวทางที่ 2.หัวใจในการแก้ปัญหาความยากจนต้องมาจากล่าง สู่บน จากการสำรวจของธนาคารโลก สุ่ม 6 หมื่นตัวอย่าง จาก 15 ประเทศ พบว่าการแก้ไขปัญหาความยากจนต้องแก้จากข้างล่างไปข้างบน เพราะมีหัวใจ 2 เรื่อง 1.ความคิดริเริ่มที่มาจากประชาชนในท้องถิ่น 2.พลังผลักดันจากภายในว่าเขาต้องการก้าวพ้นจาก ความยากจน คนที่ไม่มีความประสงค์จะออกจากความยากจนจะไม่มีทางหายยากจนได้เลย
ปัจจัย 2 อย่างนี้สะท้อนว่าหากจะทำให้เขาหายจากยากจน ต้องลงไปใกล้ชิดกับพวกเขา พยายามดึงพลังเขาออกมา ให้เขาคิดริเริ่มออกมาว่าเขาคิดจะทำอย่างไรที่จะหลุดจากความยากจน และหัวใจสำคัญในนั้นคือการรวมกลุ่มของเกษตรกร พบว่าหากแก้ไขในตัวเกษตรกรเดี่ยวๆ…ไม่มีทางสำเร็จ เพราะเกษตรกรอ่อนแอ ยากจน แต่ถ้าหากการช่วยเหลือไปที่กลุ่มเกษตรกร
ดร.สมคิดมองว่ากลุ่มเกษตรกรที่สำคัญมาก ๆ คือกลุ่มสหกรณ์ นี่คือหัวใจที่จะยกระดับการกินดีอยู่ดีของเกษตรกร
พร้อมกับยกตัวอย่างว่าได้ไปเที่ยวญี่ปุ่น โดยลงไปลึกถึงชนบท มีโอกาสไปพักบ้านเกษตรกรญี่ปุ่น พบว่าเกษตรกรเขามีบ้าน มีรถ ลูกได้เรียนดี ๆ สินค้าถูกคัดสรรอย่างดีมีการแปรรูปหลากหลายวางจำหน่ายในชุมชน สรรพสินค้า ระบุว่ามาจากไหน ได้เห็นการทำหมู่บ้านเกษตรกร เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว ดึงนักท่องเที่ยวไปค้างตามบ้านเกษตรกร มีการจัดสถานที่ขายสินค้าท้องถิ่นอยู่ในหมู่บ้าน มีคนต่างชาติเดินช็อปปิ้งอย่างมีความสุข ถามเขาว่าทำไมเกษตรกรที่นี่ ถึงเป็นแบบนี้ได้ คำตอบที่ได้คือสหกรณ์ สหกรณ์ของญี่ปุ่น เข้มแข็งมาก
คำว่าสหกรณ์คือความร่วมมือกัน สัญลักษณ์ของสหกรณ์คือเกลียวเชือก นั่นคือจิตวิญญาณของสหกรณ์ สหกรณ์เกษตรของญี่ปุ่นทำอะไรบ้าง ระดับการผลิต เขารวมพลังในการจัดซื้อ ปัจจัยการผลิตที่มีวิทยาการสูง ราคาถูกเพราะมีอำนาจต่อรอง ใช้เครื่องมือการผลิตที่ทันสมัย รวมกลุ่มแล้วไปกู้แบงก์ ไม่ขาดเงินทุนหมุนเวียน สร้างไซโล โรงเก็บ โรงงานแปรรูป การขนส่งเชื่อมโยงกับสหกรณ์ขนส่ง ได้ในราคาถูกที่สุด มีอำนาจต่อรองในการจำหน่าย มีมุมของเขาโดยเฉพาะในการวางจำหน่าย ทุกอย่างเหล่านี้เกษตรกรคนเดียวทำไม่ได้ เกษตรกรทุกคนภูมิใจใน สหกรณ์ของเขามาก เห็นเขาแล้วกลับมาคิดถึงสหกรณ์ที่ประเทศไทย
ดร.สมคิดมองว่าถึงเวลาที่ต้องพยายามร่วมมือกันสร้างสหกรณ์ไทยให้เข้มแข็งให้ได้…โดยเล่าว่าเคยไปเปิดตลาด ผลไม้จีนที่กว่างโจวกับฮ่องกง เขาต้องการผลไม้ไทย ทุเรียน เงาะ ลำไย และพ่อค้าเขารู้ช่องทางตลาดของไทยดีมากมาซื้อผลไม้จากชาวสวน แต่ไม่ให้รู้เด็ดขาดว่าจะขายอย่างไรที่เมืองจีน
“ผมไปโรงแรมที่มาเก๊า เขาต้องการผลไม้จากไทยเพื่อสร้างความแตกต่างจากโรงแรมในฮ่องกง เขาบอกว่ารับไม่อั้น ผมกลับมา คิดอยู่นานว่าจะทำอย่างไร เพื่อให้สหกรณ์ไทยขายผลไม้ได้ หากเราเชื่อมโยงสหกรณ์ตั้งแต่ต้นทางคือชาวสวนจันทบุรี ระยอง ชุมพร เชื่อมโยงไปถึงการขนส่ง แพ็กเกจ เพื่อไปต่อรองกับพ่อค้าชาวจีน ทั้ง ๆ ที่เขาต้องการสินค้าไม่อั้น แต่วันนี้เราทำไม่ได้ เพราะข้อมูลถูกปิดกั้น ชาวสวนไม่รู้จะขายเมื่อไหร่ ขายอย่างไร ถูกพ่อค้ากดราคาตามสวน คนจีนบินมาที่หลังสวนมาช็อปผลไม้ รู้ไหมว่า กำไรเท่าไหร่ สิ่งเหล่านี้ ถามว่าหากสหกรณ์ทำได้เข้มแข็ง ธ.ก.ส. กระทรวงเกษตรฯทำให้เต็มที่ มาช่วยสนับสนุนมีหรือจะทำไม่ได้ ใครเป็นเจ้าพ่ออยู่ที่ตลาดกว่างโจว ผมยังรู้จัก นี่คือตัวอย่างของชาวสวนไม่ต้องเอาเงาะมาเทกระจาดบนถนน”
ดร.สมคิดบอกว่า…เห็นแล้วมันเซ็งในหัวใจ เหมือนเห็นโจทย์เลขว่าเราทำได้แน่นอน แต่ทำไมแหล่งพลังการขับเคลื่อนไม่มี
พร้อมย้ำว่าเกษตรกรคนเดียวทำไม่ได้ แต่เครือข่ายสหกรณ์ทำได้แน่นอน วันนี้สมาชิกสหกรณ์มีเป็น 10 ล้านคน โจทย์คือทำอย่างไรให้สหกรณ์เข้มแข็ง โดยเสนอว่า
1.ขั้นตอนการปรับฐานคือต้องยุบรวมกลุ่มสหกรณ์ที่ไม่เข้มแข็ง กลุ่มที่ไปได้แต่การเงินไม่เข้มแข็งจะปรับโครงสร้างหนี้อย่างไร ทำควบคู่การพัฒนา
2.ยกระดับสหกรณ์ในการสร้างความสามารถ อาจจะต้องมีหลายระดับ ระดับเบื้องต้นเขาต้องรู้ว่าเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างไร โลกเป็นอย่างไร เขาเป็นส่วนหนึ่งของโลกอย่างไร ระดับขั้นตอนการผลิตต้องพัฒนาการผลิตอย่างไร ระดับขั้นการดีไซน์ต้องทำอย่างไร ทั้งนี้จำเป็นต้องมีโครงการนำร่องคัดเลือกสหกรณ์ดีเด่น พาไปดูงาน ต่อมาไปเป็นครูแนะนำสหกรณ์อื่น ๆ พร้อมยกระดับสร้างความกลมเกลียวในหมู่สหกรณ์ สร้างความภูมิใจ รวมทั้งยกระดับโดยการเชื่อมโยงกับภาคเอกชน
3.ระดับก้าวสู่โลก สร้างเครือข่ายห่วงโซ่ต้นทางจบปลายทาง เชื่อมโยงสหกรณ์ เชื่อมโยง อบต-อบจ. เชื่อมกับระดับภูมิภาคเพื่อสร้างความเข้มแข็ง เมื่อชนบทเข้มแข็งขึ้น ภาคประชาชนเข้มแข็ง การเมืองจะเข้มแข็ง เมื่อนั้นประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อประชาชนท้องอิ่ม รักใคร่สามัคคี มีความเข้มแข็ง เงินซื้อไม่ได้ เขารวมกลุ่มเข้มแข็ง จะมาหลอกหลวง ปั่นกระแส ไม่ได้”
“ฉะนั้นผมอยากให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ภูมิใจ จริง ๆ กรมนี้ถูกมองข้ามมานาน มันเป็นหัวใจที่สร้างภาคประชาชนให้เข้มแข็ง ถ้าภาคประชาชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจในประเทศจะเข้มแข็ง อำนาจซื้อเข้มแข็ง ไทยจะสมดุลทั้งเศรษฐกิจในและนอกประเทศ การขับเคลื่อนจะเกิด ชีวิตที่ดีจะเกิด ความเท่าเทียมกันก็จะกระจาย หากไม่ทำแบบนี้ โดยรวมศูนย์อยู่ส่วนกลาง ถึงก็ช่างไม่ถึงก็ช่าง รัฐมนตรีว่าแล้วแต่จะชงเรื่องอะไร หากเป็นอย่างนั้น อีกนานกว่าเกษตรกรไทยจะมีบ้านดี ๆ อยู่ ลูกจะมีการศึกษาดี ๆ เรียน ช่วยกันสร้างผู้นำรุ่นใหม่ ๆ จากฐานชาวบ้านขึ้นมา สร้างความเข้มแข็งขึ้นมา นั่นแหละประเทศไทยจะอยู่รอดได้”

วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ทฤษฎีและหลักการบริหาร

               การบริหารจัดการในชั้นเรียน ตามที่ครุสภากำหนด ต้องมีทั้งสาระ ความรู้ และ สมรรถนะตามมาตรฐานที่กำหนด


         สาระความรู้ตามมาตรฐาน   มี 14 หัวข้อได้แก่     
         

1ทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการ      8. การประกันคุณภาพการศึกษา
2. ภาวะผู้นำทางการศึกษา                        9. การทำงานเป็นทีม
3. การคิดอย่างเป็นระบบ                          10. การจัดทำโครงงานทางวิชาการ
4. การเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กร                11. การจัดโครงการฝึกอาชีพ
5. มนุษยสัมพันธ์ในองค์กร                      12. การจัดโครงการและกิจกรรมเพื่อพัฒนา 
6. การติดต่อสื่อสารในองค์กร                  13. การจัดระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ
7. การบริหารจัดการชั้นเรียน                   14. การศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน

สมรรถนะตามมาตรฐาน มี 5 หัวข้อคือ


1. มีภาวะผู้นำ                                    
2. สามารถบริหารจัดการในชั้นเรียน
3. สามารถสื่อสารได้อย่างมีคุณภาพ
4.สามารถในการประสานประโยชน์ 
5. สามารถนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในการบริหารจัดการ



               สุนีย์ เหมะประสิทธิ์ (2533 : 18-19) ได้กล่าวถึงแนวคิดทางทฤษฎีการเรียนรู้ ที่เป็นแนวทาง ในการสร้างชุดการสอนที่มีประสิทธิภาพเป็น 3 กลุ่ม คือ         (1) กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) เป็นกลุ่มที่ตีความพฤติกรรมมนุษย์ว่า เป็นการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (stimulus) และการตอบสนอง (responses) บางทีจึงเรียกว่า การเรียนรู้แบบ SR สิ่งเร้าก็คือ ข่าวสารหรือเนื้อหาวิชาที่ส่งไปให้ผู้เรียน โดยผ่านกระบวนการเรียนการสอนโปรแกรมการเรียนการสอนอิงหลักการทฤษฎีนี้มาก โดยจะแยกลำดับขั้นของการเรียนรู้ออกเป็นขั้นตอนย่อยๆ และเมื่อผู้เรียนเกิดการตอบสนอง ก็จะสามารถทราบผลได้ทันที ว่าเกิดการเรียนรู้หรือไม่ ถ้าตอบสนองถูกต้องจะมีการเสริมแรง โปรแกรมการเรียนการสอนเป็นรายบุคคลอิงทฤษฎีนี้มาก         
 (2) กลุ่มเกสตัลท์หรือทฤษฎีสนามหรือทฤษฎีพุทธินิยม   (Gestalt, Field or Cognitive
theories) เป็นกลุ่มที่เน้นกระบวนการความรู้ความเข้าใจหรือการรู้คิด อันได้แก่ การรับรู้อย่างมีความหมาย ความเข้าใจ และความสามารถในการจัดกระทำ อันเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของ
พฤติกรรมมนุษย์ ทฤษฎีนี้ถือว่าการเรียนรู้ของมนุษย์นั้นขึ้นกับคุณภาพของสติปัญญาและความ
สามารถในการสร้างความสัมพันธ์            

 (3) กลุ่มจิตวิทยาทางสังคมหรือการเรียนรู้ทางสังคม (Social psychology or Social
learning theory) เป็นกลุ่มที่เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้นทฤษฎีนี้เน้นปัจจัยทางบุคลิกภาพ
และปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ การเรียนรู้ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการกระทำทางสังคม




ทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์

 

กลุ่มนักจิตวิทยาประเทศเยอรมันนี  เรียกว่านักจิตวิทยาเกสตัลท์ (Gestalt Psychologist) ประกอบด้วย  โคท์เลอร์ (Kohler) คอฟคา (Koffka) และแวร์ไทมเมอร์ (Wertheimer) เริ่มใน ค.ศ.1912 ได้อธิบายความสัมพันธ์ของส่วนย่อยและส่วนรวมว่า ส่วนรวมมากกว่าผลรวมของส่วนย่อย โดยมีแนวคิดหลักว่า "ส่วนรวม (The whole) มีค่ามากกว่าผลรวม (the sum)ของส่วนย่อย (parts)" การเรียนรู้ล้วนเริ่มต้นจากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมมาให้ผู้เรียนรับรู้เสียก่อน แล้วจึงแยกแยะให้เรียนรู้ในส่วนย่อย    โดยอาศัยหลักการ 2 ประการ คือ
        

 1.1 การรับรู้ (Perception)    บุคคลจะรับรู้ภาพ (Figure) เป็นสิ่งสำคัญ ส่วนพื้น( ground) เป็นเพียงส่วนประกอบ
เช่น ในการนั่งเรียนมีสิ่งเร้าหลากหลายทั้งครูผู้สอน เนื้อหาจากคอมพิวเตอร์แสดงผ่านอุปกรณ์ช่วยโปรเจ็คเตอร์ เสียงเพื่อนคุยกัน ความร้อน หรือความง่วง หากผู้เรียนให้ความสนใจเนื้อหาที่ครูนำเสนอผ่านโปรเจ็คเตอร์  เนื้อหาจะเป็นภาพ  เขาจะรับรู้สิ่งต่าง ๆที่ปรากฏผ่านโปรเจ็คเตอร์อย่างชัดเจน สิ่งอื่น ๆ จะเป็นพื้น บางช่วงเวลา ผู้เรียนให้ความสำคัญกับความง่วง  การสอนของครูและสิ่งต่าง ๆ ก็เพียงแต่ผ่านหูผ่านตา ไม่รับรู้รายละเอียด เรียนไม่รู้เรื่อง เป็นต้น
         

1.2 การหยั่งรู้ หรือการหยั่งเห็น ( Insight )     คือการเรียนรู้หรือการแก้ปัญหาด้วยตนเองอย่างทันทีทันใด  ผู้สามารถเรียนด้วยการหยั่งรู้จะเป็นผู้สามารถมองเห็นแนวทาง ในการแก้ปัญหาได้ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ   สามารถมองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาและการแก้ปัญหา ดังนั้น ความสามารถในการหยั่งรู้ของบุคคลจึงขึ้นกับประสบการณ์เดิมที่มีอยู่ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับปัญหาที่เกิดขึ้น



หลักการของกลุ่มเกสตัลท์เป็นนักจิตวิทยาพุทธิปัญญานิยมที่เน้นการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการรู้คิดและความสำคัญของผู้เรียน โดยถือว่าการเรียนรู้เป็นผลของการที่ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม สิ่งเร้าที่สำคัญคือสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรับรู้ และการรับรู้เป็นปัจจัยสำคัญของการเรียนรู้ ผู้เรียนอาจจะเกิดการหยั่งรู้ในการแก้ปัญหาและแก้ปัญหาได้ทันทีโดยไม่ต้องให้แรงเสริม

การจัดการชั้นเรียน

การจัดการชั้นเรียน  หมายถึง   การเตรียมความพร้อมในการสอนและบรรยากาศในห้องเรียน

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ นายฮาฟีส   สามะ    รหัส 5111116047    คณะครุศาสตร์   หลักสูตร สังคมศึกษา      กลุ่มเรียน  01 

จบจาก โรงเรียนแสงธรรมวิทยา    จังหวัด นราธิวาส
ชื่อเล่น  ฟิส         คติ   ทำวันนี้ให้ดีที่สุด