การบริหารจัดการในชั้นเรียน ตามที่ครุสภากำหนด ต้องมีทั้งสาระ ความรู้ และ สมรรถนะตามมาตรฐานที่กำหนด
สาระความรู้ตามมาตรฐาน มี 14 หัวข้อได้แก่
1. ทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการ 8. การประกันคุณภาพการศึกษา
2. ภาวะผู้นำทางการศึกษา 9. การทำงานเป็นทีม
3. การคิดอย่างเป็นระบบ 10. การจัดทำโครงงานทางวิชาการ
4. การเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กร 11. การจัดโครงการฝึกอาชีพ
5. มนุษยสัมพันธ์ในองค์กร 12. การจัดโครงการและกิจกรรมเพื่อพัฒนา
6. การติดต่อสื่อสารในองค์กร 13. การจัดระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ
7. การบริหารจัดการชั้นเรียน 14. การศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน
สมรรถนะตามมาตรฐาน มี 5 หัวข้อคือ
1. มีภาวะผู้นำ
2. สามารถบริหารจัดการในชั้นเรียน
3. สามารถสื่อสารได้อย่างมีคุณภาพ
3. สามารถสื่อสารได้อย่างมีคุณภาพ
4.สามารถในการประสานประโยชน์
5. สามารถนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในการบริหารจัดการ
สุนีย์ เหมะประสิทธิ์ (2533 : 18-19) ได้กล่าวถึงแนวคิดทางทฤษฎีการเรียนรู้ ที่เป็นแนวทาง ในการสร้างชุดการสอนที่มีประสิทธิภาพเป็น 3 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) เป็นกลุ่มที่ตีความพฤติกรรมมนุษย์ว่า เป็นการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (stimulus) และการตอบสนอง (responses) บางทีจึงเรียกว่า การเรียนรู้แบบ SR สิ่งเร้าก็คือ ข่าวสารหรือเนื้อหาวิชาที่ส่งไปให้ผู้เรียน โดยผ่านกระบวนการเรียนการสอนโปรแกรมการเรียนการสอนอิงหลักการทฤษฎีนี้มาก โดยจะแยกลำดับขั้นของการเรียนรู้ออกเป็นขั้นตอนย่อยๆ และเมื่อผู้เรียนเกิดการตอบสนอง ก็จะสามารถทราบผลได้ทันที ว่าเกิดการเรียนรู้หรือไม่ ถ้าตอบสนองถูกต้องจะมีการเสริมแรง โปรแกรมการเรียนการสอนเป็นรายบุคคลอิงทฤษฎีนี้มาก
(2) กลุ่มเกสตัลท์หรือทฤษฎีสนามหรือทฤษฎีพุทธินิยม (Gestalt, Field or Cognitive
theories) เป็นกลุ่มที่เน้นกระบวนการความรู้ความเข้าใจหรือการรู้คิด อันได้แก่ การรับรู้อย่างมีความหมาย ความเข้าใจ และความสามารถในการจัดกระทำ อันเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของ
พฤติกรรมมนุษย์ ทฤษฎีนี้ถือว่าการเรียนรู้ของมนุษย์นั้นขึ้นกับคุณภาพของสติปัญญาและความ
สามารถในการสร้างความสัมพันธ์
(3) กลุ่มจิตวิทยาทางสังคมหรือการเรียนรู้ทางสังคม (Social psychology or Social
learning theory) เป็นกลุ่มที่เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้นทฤษฎีนี้เน้นปัจจัยทางบุคลิกภาพ
และปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ การเรียนรู้ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการกระทำทางสังคม
(2) กลุ่มเกสตัลท์หรือทฤษฎีสนามหรือทฤษฎีพุทธินิยม (Gestalt, Field or Cognitive
theories) เป็นกลุ่มที่เน้นกระบวนการความรู้ความเข้าใจหรือการรู้คิด อันได้แก่ การรับรู้อย่างมีความหมาย ความเข้าใจ และความสามารถในการจัดกระทำ อันเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของ
พฤติกรรมมนุษย์ ทฤษฎีนี้ถือว่าการเรียนรู้ของมนุษย์นั้นขึ้นกับคุณภาพของสติปัญญาและความ
สามารถในการสร้างความสัมพันธ์
(3) กลุ่มจิตวิทยาทางสังคมหรือการเรียนรู้ทางสังคม (Social psychology or Social
learning theory) เป็นกลุ่มที่เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้นทฤษฎีนี้เน้นปัจจัยทางบุคลิกภาพ
และปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ การเรียนรู้ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการกระทำทางสังคม
ทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์
กลุ่มนักจิตวิทยาประเทศเยอรมันนี เรียกว่านักจิตวิทยาเกสตัลท์ (Gestalt Psychologist) ประกอบด้วย โคท์เลอร์ (Kohler) คอฟคา (Koffka) และแวร์ไทมเมอร์ (Wertheimer) เริ่มใน ค.ศ.1912 ได้อธิบายความสัมพันธ์ของส่วนย่อยและส่วนรวมว่า “ส่วนรวมมากกว่าผลรวมของส่วนย่อย” โดยมีแนวคิดหลักว่า "ส่วนรวม (The whole) มีค่ามากกว่าผลรวม (the sum)ของส่วนย่อย (parts)" การเรียนรู้ล้วนเริ่มต้นจากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมมาให้ผู้เรียนรับรู้เสียก่อน แล้วจึงแยกแยะให้เรียนรู้ในส่วนย่อย โดยอาศัยหลักการ 2 ประการ คือ
1.1 การรับรู้ (Perception) บุคคลจะรับรู้ภาพ (Figure) เป็นสิ่งสำคัญ ส่วนพื้น( ground) เป็นเพียงส่วนประกอบ
เช่น ในการนั่งเรียนมีสิ่งเร้าหลากหลายทั้งครูผู้สอน เนื้อหาจากคอมพิวเตอร์แสดงผ่านอุปกรณ์ช่วยโปรเจ็คเตอร์ เสียงเพื่อนคุยกัน ความร้อน หรือความง่วง หากผู้เรียนให้ความสนใจเนื้อหาที่ครูนำเสนอผ่านโปรเจ็คเตอร์ เนื้อหาจะเป็นภาพ เขาจะรับรู้สิ่งต่าง ๆที่ปรากฏผ่านโปรเจ็คเตอร์อย่างชัดเจน สิ่งอื่น ๆ จะเป็นพื้น บางช่วงเวลา ผู้เรียนให้ความสำคัญกับความง่วง การสอนของครูและสิ่งต่าง ๆ ก็เพียงแต่ผ่านหูผ่านตา ไม่รับรู้รายละเอียด เรียนไม่รู้เรื่อง เป็นต้น
1.2 การหยั่งรู้ หรือการหยั่งเห็น ( Insight ) คือการเรียนรู้หรือการแก้ปัญหาด้วยตนเองอย่างทันทีทันใด ผู้สามารถเรียนด้วยการหยั่งรู้จะเป็นผู้สามารถมองเห็นแนวทาง ในการแก้ปัญหาได้ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ สามารถมองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาและการแก้ปัญหา ดังนั้น ความสามารถในการหยั่งรู้ของบุคคลจึงขึ้นกับประสบการณ์เดิมที่มีอยู่ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับปัญหาที่เกิดขึ้น
หลักการของกลุ่มเกสตัลท์เป็นนักจิตวิทยาพุทธิปัญญานิยมที่เน้นการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการรู้คิดและความสำคัญของผู้เรียน โดยถือว่าการเรียนรู้เป็นผลของการที่ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม สิ่งเร้าที่สำคัญคือสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรับรู้ และการรับรู้เป็นปัจจัยสำคัญของการเรียนรู้ ผู้เรียนอาจจะเกิดการหยั่งรู้ในการแก้ปัญหาและแก้ปัญหาได้ทันทีโดยไม่ต้องให้แรงเสริม